วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผู้สืบสันดานของบุตรบุญธรรม

       




              บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก  ถูกกำจัดมิให้รับมรดก  ผู้สืบสันดานของบุตรบุญธรรม  จะสืบมรดกแทนได้หรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
           เมื่อบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถูกกำจัดมิให้รับมรดก  ผู้สืบสันดานของบุตรบุญธรรมสามารถสืบมรดกแทนบุตรบุญธรรมได้    ป.พ.พ.  ม. ๑๖๐๗
             สรุป  ผู้สืบสันดานของบุตรบุญธรรม  เข้าสืบมรดกแทนบุตรบุญธรรมได้

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

โมฆะกรรม





                       โมฆะกรรม  มีความหมายอย่างไร
                        โมฆะกรรม  เป็นนิติกรรมที่ได้เกิดขึ้นแล้วในทางข้อเท็จจริง  แต่กฎหมายไม่รับรองผลให้  คือ เป็น  นิติกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลใดๆในทางกฎหมาย
                          สรุป  นิติกรรมที่ไม่เกิดผลในทางกฎหมาย

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผู้ต้องหาตั้งบ่อนเลี้ยงโจร




                     ตำรวจกล่าวหาว่าผู้ต้องหาตั้งบ่อนเลี้ยงโจร  ผิดหรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้

                               สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจกล่าวในที่ประชุมราชการประจำอำเภอประจำเดือนว่าโจทก์ตั้งบ่อนการพนันเลี้ยงโจร  เป็นการกล่าวตามหน้าที่ราชการ  ไม่ผิดตาม  ป.อ.มาตรา  ๑๕๗,๒๓๖
(ฎ.๘๕๘/๒๕๒๓)
                             สรุป  การกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นในฐานะเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่  ม.  ๓๒๙(๒)  ไม่มีความผิด

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

ลูกน้องทุจริตยักยอกเงินราชการ

               




              ลูกน้องทุจริตยักยอกเงินราชการลูกพี่ต้องรับผิดหรือไม่  มีหลักกฎหมายวางหลักไว้ดังนี้

               นายเอ  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ไม่ควบคุมตรวจสอบการรับการเก็บรักษาเงิน  เป็นช่องทางให้นายบีผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินของกรมไป  เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ  ดังนั้น  นายเอ  ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดด้วย
              สรุป ลูกน้องทุจริตลูกพี่รับผิดด้วย  (ฟ้องต่อศาลปกครอง)

วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับ






                  ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับอย่างใดบ้าง  มีแนวหลักกฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
๑. มีอำนาจออกคำบังคับสั่งให้เพิกถอนกฎ  คำสั่งสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน
 (กรณีกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
๒.กำหนดให้หน่วยงานปฏิบัติตามคำสั่งภายในเวลาอันควร  (กรณีละเลยต่อหน้าที่)
๓.สั่งให้ใช้เงิน  (กรณีละเมิดทางปกครอง)
๔.สั่งให้ละเว้นกระทำการหรือกระทำการ (กรณีบุคคลกระทำการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
๕.สั่งให้ปฏิบัติต่อสิทธิหรือหน้าทีี่ของบุคคลใน (กรณีที่กฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่)

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

บุตรผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ขับรถชนคน

               
             

                  บิดมารดาต้องร่วมรับผิดกับบุตรในกรณีที่บุตรผู้เยาว์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ขับรถจักรยานยนต์ชนคน  หรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
                 บิดมารดา  ปล่อยปละละเลยให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักรยายนยนต์ทั้งๆที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่  ถือว่าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ผู้ปกครองที่ดี  ต้องรับผิดร่วมในผลแห่งการละเมิดที่บุตรผู้เยาว์ก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอก  (ฎ.๒๒๖๐/๒๕๒๙)
                สรุป  บิดามารดาต้องร่วมรับผิดในกรณีที่บุตรผู้เยาว์ไม่มีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชนบุคคลภายนอก

อยู่กินด้วยกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส



               สามีภริยาแยกทางกันอยูู่  ทำสัญญาประนีประนอมให้บุตรอยู่กับฝ่ายตนคนละ ๒  สัปดาห์  ต่อมาภริยาไม่ยอมให้บุตรอยู๋กับสามี  สามีมีสิทธิฟ้องบังคับหรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักดังนี้
               สามีภริยา  อยู่กินด้วยกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสซึ่ง  มีบุตรด้วยกัน  ๑  คน  ต่อมาสามีภริยาแยกทางกันอยู่  โดยมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้แต่ละฝ่ายทำหน้าที่ดูแลบุตรอยู่กับแต่ละฝ่าย  ๒  สัปดาห์  ซึ่งต่อมาภริยาไม่ยอมให้บุตรไปอยูกับสามีตามข้อตกลง  ฝ่ายสามีไม่สามารถฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาได้ เพราะตนไม่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร
 (ฎ.๗๗๙๕/๒๕๓๘)
สรุป  สามีไม่สามารถฟ้องให้ภริยาปฎิบัติตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความได้  เพราะตนไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย


               การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย  มีหลักเกณฑ์อย่างไร  มีหลักการพิจารณาดังนี้
๑.  เป็นพนักงานสอบสวน  เช่น  เป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ  (DSI) 
๒.  เป็นพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนหรือที่มีเขตอำนาจ  เช่น  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  กองปราบปราม  มีเขตอำนาจสอบสวนได้ทั่วราชอาณาจักร
๓. วิธีการสอบสวนหรือปฏิบัติในการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย  หรือการปฏิบัติโดยบกพร่องที่มิใช่ข้อสาระสำคัญ  เช่น  แจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

หมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร



                   ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร  เป็นความผิดมีอัตราโทษเท่าใดมีหลักกฎหมายป.อ.  มาตรา  ๓๒๘  ดังนี้
                  หมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร   ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี  และปรับไม่เกินสองแสนบาท
                  การดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทอาจกระทำโดยใช้เสียง  ภาษามือเงียบๆ  ภาษาเขียนเป็นตัวหนังสือ  เขียนด่าผู้อื่น  คำด่าว่า  ไอ้ผีปอบ  ไอ้ควาย  ไอ้เหี้ย  ไอ้สัตว์  เหล่านี้ไม่ใช่คำหมิ่นประมาท  แต่เป็นการดูหมิ่นได้

วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว

         



               บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว  มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิดบิดาจนถึงแก่ความตายได้หรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
              บุตรนอกกฎหมายคือบุตรที่เกิดแก่มารดาและบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  แต่บิดายินยอมให้บุตรใช้นามสกุลของตนถือว่าบิดาให้การรับรองบุตรแล้ว  แต่หากมีกรณีที่บุคคลภายนอกทำละเมิดบิดาจนถึงแก่ความตายบุตรนอกกฎหมายไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ที่ทำละเมิดบิดาได้
(ฎ.๙๒๑๐/๒๕๕๖)
            สรุป  บุตรที่จะเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากผู้กระทำละเมิดบิดาได้ต้องเป็นบุตรที่กิดแก่บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสเท่านั้น

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

การเริ่มสภาพบุคคลเริ่มเมื่อใด






              การเริ่มสภาพบุคคลเริ่มเมื่อใด  มีหลักเกณฑ์ดังนี้
๑.คลอดแล้ว  หมายถึง  ร่างกายทารกหลุดจากช่องคลอดแม้แพทย์ยังไม่ตัดสายรกของทารก  ถือว่าคลอดสมบูรณ์แล้ว
๒.อยู่รอดเป็นทารก  หมายถึง  มีการหายใจ  การร้อง  การเต้นของหัวใจ  การเต้นของสะดือ  เคลื่อนไหวร่างกาย (แม้ทารกมีชีวิตอยู่เพียง  ๑  นาทีก็ตาม)
              สรุป  สภาพบุคคลเริ่มแต่คลอดและอยู่รอดเป็นทารก

ยกสัตว์พาหนะให้กันต้องมีการโอนทะเบียน

           


           
               การตีความกฎหมาย  ที่ยกเอาจารีตประเพณีท้องถิ่นขึ้นอ้าง  ต้องมีลักษณะอย่างไร  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
              ต้องเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานมนาน และไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น  อ้างว่าประเทศราชฝ่ายเหนือ  หากจะยกสัตว์พาหนะให้กันโดยไม่ต้องไปโอนทะเบียนก็ใช้ได้แล้ว  ใช้ไม่ได้เพราะขัดต่อ  พ.ร.บ. สัตว์พาหนะ  ร.ศ. ๑๑๙  (ฎ.๑๐๙๒/๒๔๖๗)
              สรุป  การยกสัตว์พาหนะให้กันต้องมีการโอนทะเบียนจึงจะใช้ได้  จะอ้างจารีตประเพณีที่เคยปฏิบัติมาโดยไม่ต้องโอนทะเบียนใช้ไม่ได้

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

แม่สละมรดกแทนลูก

                   






                       มารดาสละมรดกแทนบุตรผู้เยาว์ (ไม่รับมรดกแทนบุตร)  ได้หรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
                       การที่มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกแทนบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามมาตรา  ๑๖๑๑  (๑)  เมื่อมารดาสละมรดกแทนบุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุมัติจากศาล  จึงไม่มีผลเป็นการสละมรดก  บุตรยังมีสิทธิรับมรดก (ฎ.๖๑๙/๒๕๐๘)
                     สรุป   มารดาไม่มีสิทธิสละมรดกแทนบุตรได้  บุตรยังมีสิทธิรับมรดก

สามีได้หญิงอื่น (กิ๊ก)



                      สามีได้หญิงอื่นยกย่องเป็นภริยา  นำเข้ามาอยู่ในบ้าน หากภริยามีความประสงค์จะฟ้องคดีหย่ากับสามีจะต้องดำเนินการภายในกี่ปี  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้

                      สามีได้หญิงอื่น (กิ๊ก)  และรับเข้ามาอยู่ในบ้าน  อันเป็นการเลี้ยงดูและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา  ตาม  ป.พ.พ. ม. ๑๕๑๖(๑)    แต่ภริยาไม่ได้ฟ้องคดีนับแต่รู้ภายใน  ๑  ปี  จึงฟ้องหย่าสามีไม่ได้  คดีเป็นอันขาดอายุความ
สรุป  หากภริยาต้องการฟ้องหย่ากับสามีด้วยเหตุดังกล่าวนี้  ต้องฟ้องคดีภายใน ๑  ปี  นับแต่รู้

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

การขอประกันตัว






           การขอประกันตัว  นอกจากใช้    บุคคลประกันตัวผู้กระทำผิดแล้ว
ยังมีวิธีการใดอีกหรือไม่  มีแนวปฏิบัติไว้ดังนี้
           การขอทำประกันภัยอิสรภาพหลังการกระทำความผิด
          เป็นกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลย  ถูกดำเนินคดีอาญาในระหว่างควบคุมตัว    ต้องการประกันตัว  สามารถที่จะขอซื้อประกันภัยจากบริษัทประกันภัย  โดยบริษัทจะออกกรมธรรม์พร้อมหนังสือรับรองให้ตามจำนวนเงินที่เอาประกันภัย บุคคลนั้นสามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์ในการยื่นประกันตัวต่อศาลได้

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

แม่ขอเพิกถอนการยกที่ดินให้ลูก กรณีพ่อยกที่ดินให้ลูกโดยพลการ

                   






                        พ่อยกที่ดินให้แก่ลูกซึ่งเป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากแม่  แม่ขอเพิกถอนการยกให้ได้หรือไม่ มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
                      บิดายกที่ดินให้ลูกโดยความเสน่หาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากมารดา   พร้อมกันนั้นก็ยกที่ดินให้บุตรคนอื่น ๆในจำนวนที่มากกว่า  เป็นการให้ในทางศีลธรรมอันดี  การกระทำดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย  ตามป.พ.พ. ม. ๑๔๗๒ วรรค ๒ (๓) เดิม  (ฎ.๓๔๗๑/๒๕๓๑)  มารดาไม่มีสิทธิขอเพิกถอน

การฟ้องเพิกถอนนิติกรรม






                             การฟ้องเพิกถอนนิติกรรม  ต้องกระทำภายในกี่ปี  มีคำพิพากษาวางหลักไว้ดังน้
        การฟ้องเพิกถอนนิติกรรม  ต้องกระทำภายใน ๑๐  ปี  มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ ( ฏ.๑๑๗๑/๒๕๔๓)

สิทธิแบ่งสินสมรส

                     






                        สามี  ภริยายังไม่ได้หย่ากันมีสิทธิแบ่งสินสมรส  ได้หรือไม่  มีคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
                        ป.พ.พ. ม. ๑๕๓๓  การจะแบ่งสินสมรสได้ต้องมีการหย่ากันเท่านั้น  เมือไม่มีการหย่าแม้คู่สมรสจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว  ตาม ม. ๑๕๓๔  ก็ให้ถือเสมือนว่่าทรัพย์นั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตาม ม. ๑๕๓๓  เช่น  สามีขายรถยนต์ไป  ภริยาจะฟ้องขอแบ่งเงินที่ขายรถยนต์ในขณะยังไม่ได้หย่ากันนั้นทำไม่ได้   (ฎ.๓๙๖๑/๒๕๓๕)

บิดามารดา ยกที่ดินให้ ผู้เยาว์

                     



                               บิดามารดา  ยินยอมให้ราชการตัดถนนผ่านที่ดินที่ยกให้ผู้เยาวฺ์  ต่อมาบิดามารดาตาย  ผู้เยาว์ฟ้องราชการว่าละเมิดที่ดินผู้เยาว์ได้หรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้

                              บิดามารดา ยกที่ดินให้ ผู้เยาว์และ  ยินยอมให้ราชการทำถนนผ่านที่ดินของผู้เยาว์  เมื่อบิดามารดาเสียชีวิต  ซึ่งต่อมาผู้เยาว์อายุ  ๑๘  ปี  เข้าใจว่าราชการละเมิดโดยเข้าใจว่าเหตุที่บิดามารดายินยอมให้มีถนนตัดผ่านเพราะจะได้รับสัมปทานเดินรถโดยสาร  เมื่อไม่ได้สัปทานเดินรถโดยสารบนถนนสายดังกล่าวจึงนำคดีมาฟ้องราชการนั้น  เป็นกรณีใช้สิทธิโดยไม่สุจริต  ป.พ.พ. ม. ๕  ผู้เยาว์ไม่มีอำนาจฟ้อง(ฎ.๑๐๘๒/๒๕๓๓)

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

คนต่างด้าวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน

                       

  คนต่างด้าวมีสิทธิ์ในที่ดินหรือไม่  แนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้  หญิงคนต่างด้าวแต่งงานกับสามีคนไทย   การลงชื่อภริยาหญิงคนต่างด้าวเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินสินสมรสร่วมกับสามีจึงเป็นการได้มาซึ่งที่ดินอันขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน  มาตรา  ๘๖  ไม่อาจกระทำได้  (ฎ.๙๕๑๐/๒๕๓๙)

ภริยาทำสัญญากู้ยืมเงิน แม้สามีมิได้ให้ความยินยอม

                               

                           


                               หญิงมีสามีสมัครใจทำสัญญากู้ยืมเงิน  จากเจ้าหนี้  โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี  สัญญากู้ยืมเงินตกเป็นโมฆะหรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
                               การกู้ยืมเงินของภริยา  แม้สามีมิได้ให้ความยินยอมในการกู้เงินก็ไม่ทำให้สัญญากู้ดังกล่าวเป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เพราะการกู้ยืมเงินของภริยาไม่ใช่การจัดการเกี่ยวกับสินสมรสที่จะต้องให้สามียินยอม (ฏ.๑๘๖๒/๒๕๓๑)

สัญญาก่อนสมรส กรณีสินส่่วนตัว

                   


                        สัญญาก่อนสมรส  กรณีสินส่วนตัว  มิได้แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรสหลังมีการจดทะเบียนสมรสกัน   มีผลอย่างไร  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้

                        สัญญาก่อนสมรส   มีข้อความระบุว่า"ให้สินส่วนตัวเป็นสินสมรส"    โดยมิได้จดแจ้งข้อความเป็นสัญญาก่อนสมรสไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส    หรือมิได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อย  ๒  คน  แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรสและจดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่า  ได้มีสัญญาแนบไว้  สัญญาก่อนสมรสดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ตาม  ป.พ.พ.  ๑๔๖๖  (ฎ.๓๓๔๖/๒๕๓๒)

ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม

                 


                               สามี ภริยา(จดทะเบียนสมรส)  ต้องให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมทั้งสองฝายหรือไม่  หากฝ่าใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอม  การรับบุตรบุญธรรมมีผลตามกฎหมายหรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้

                               คู่สมรส  (สามีภริยาต้องจดทะเบียนสมรสกัน )  ของผู้รับบุตรบุญธรรม  ต้องให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมด้วยกันทั้งคู่ หมายถึง   สามีภริยาชอบด้วยกฎหมาย(ต้องจดทะเบียนสมรสกัน)  ถ้าหากฝ่ายภริยาไม่ให้ความยินยอมรับบุตรบุญธรรม  การรับบุตรบุญธรรมที่เกิดจากสามีฝ่ายเดียวนั้น ย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย (ฎ. ๒๓๙๘/๒๕๑๗)

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

ขับรถซึ่งห้ามล้อใช้การไม่ได้


                           ขับรถห้ามล้อไม่อยู่  รถขึ้นสะพานเครื่องยนต์ดับรถถอยลงมาตกคลอง  คนโดยสารได้รับบาดเจ็บ  เป็นเหตุสุดวิสัย  หรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวินิจฉัยไว้ดังนี้
                           ขับรถซึ่งห้ามล้อใช้การไม่ได้ขึ้นสะพานเบี่ยงอันเป็นที่สูง  เครื่องยนต์ดับรถถอยลงมา  รถชนราวสะพานเบี่ยงพลัดตกลงไปในคลอง  ผู้โดยสารตายและบาดเจ็บ  ถือเป็นการกระทำโดยประมาทมิใช่เหตุนอกเหนืออำนาจหรืออุบัติเหตุ  (ฎ.๓๒๓/๐๗)

ชายหญิง แต่งงานกันโดยวิธีผูกข้อมือ


                          ชายหญิง แต่งงานกันโดยวิธีผูกข้อมือ  ต่อมาหญิงไม่ยอมให้ร่วมหลับนอนและไม่ยอมคืนของหมั้นให้แก่ชาย  เป็นการละเมิดชายหรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
                         ชายแต่งงานกับหญิงโดยวิธีผูกข้อมือ  แสดงว่าทั้งสองฝ่ายมิได้มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกัน  ตาม  ป.พ.พ.  ๑๔๕๗  เมื่อฝ่ายชายมอบทรัพย์สินเงินทองให้แก่หญิง  บิดามารดาของหญิง    จึงไม่ใช่ของหมั้น  และไม่ใช่สินสอด
                        เมื่อฝ่ายหญิงไม่ยอมร่วมหลับนอนกับชาย  ชายไม่สามารถเรียกทรัพย์สินคืน  ไม่สามารถเรียกค่าเสียหาย  ค่าทดแทน  จากหญิงหรือบิดามารดาของหญิงได้  เพราะไม่ใช่เป็นการละเมิดฝ่ายชายหรือไม่ใช่เรื่องผิดสัญญาหมั้น  ตาม  ป.พ.พ.  ม. ๑๔๔๙  และ  ม.๑๔๔๐(ฎ.๕๙๒/๒๕๔๐)
                 

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

ที่ดินแปลงหนึ่งมีเจ้าของรวมหลายคน






                               ที่ดินแปลงหนึ่งมีเจ้าของรวม เจ้าของรวมคนหนึ่งอนุญาตให้บุคคลอื่นปลูกบ้านในที่ดินกรรมสิทธิ์รวม  ได้หรือไม่  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
                              ที่ดินมีชื่อยู่ในโฉนดร่วมกันทั้งสามคน  เจ้าของรวมคนหนึ่งเอาที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลอื่นปลูกบ้านอาศัยอยู่บนที่ดินโดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้อนุญาต  ถือว่าเป็นการใช้สิทธิขัดต่อสิทธิเจ้าของรวมคนอื่น  จึงไม่มีสิทธิทำได้  เจ้าของรวมคนอื่นสามารถฟ้องขับไล่ออกจากที่ดินได้
(ฏ.๗๖๖๒/๒๕๔๖)

วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้าน


              เจ้าบ้าน คือใคร  มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้
               คำว่า "เจ้าบ้าน" ตามบทบัญญัติ  ป.วิ อาญา  มาตรา  ๙๒(๕)  หมายความถึงผู้เป็นหัวหน้าของบุคคลท่ีพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น  และรวมตลลอดถึงคู่สมรสของผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น  เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้าน  และปกครองผู้อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น  หาได้รวมถึงผู้อยู่ในบ้านทุกคนไม่ (ฎ.๑๐๓๕/๒๕๓๖)

เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าท่ีโดยมิชอบ




        ตำรวจจับผู้ต้องหาแล้วไม่นำส่งพนักงานสอบสวน  มีความผิดหรือไม่อย่างไร
มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังน้

         เจ้าพนักงานตำรวจจับราษฎรโดยไม่มีอำนาจจับตามกฎหมาย  โดยไม่แจ้งข้อหา  ไม่นำส่งพนักงานสอบสวนแต่นำไปควบคุมไว้ที่อื่น เป็นการกระทำเพื่อข่มขู่กลั่นแกล้ง  เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าท่ีโดยมิชอบ  ตามาตรา  ๑๕๗  และฐานทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามมาตรา  ๓๑๐  (ฎ. ๔๒๔๓/๒๕๔๒)

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฝนตกและฟ้าคะนองในวันเกิดเหตุ

เมื่อมีเหตุฝนฟ้าคะนอง...ในฤดูฝนรถยนต์วิ่งบนถนนของเทศบาล ต่อมาต้นไม้ที่อยู่บนถนนสองข้างทางล้มทับรถยนต์ เทศบาลต้องรับผิดชอบหรือไม่อย่างไร
มีแนวคำพิพากษาวางหลักไว้ดังนี้

ต้นสนอยู่ข้างถนนซึ่งเทศบาลจำเลยที่.๑.มีหน้าที่ดูแลมีสภาพผุกลวง.แม้จะมีฝนตกและฟ้าคะนองในวันเกิดเหตุแต่ก็เป็นฝนตกเล็กน้อยและ.ปานกลางในช่วงสั้นๆและความเร็วของลมก็เป็น.....ความเร็วลมปกติการที่ต้นสนล้มลงทับรถโจทก์จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยเนื่องจากสภาพอากาศ..แปรปรวนแต่เป็นความบกพร่องของจำเลยที่..๑....ที่ไม่ยอมโค่นหรือค้ำจุนต้นสนเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น...(ฎ.๗๕/๒๕๓๘)