วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายอาญา

 เรื่องตัวการ  ผู้สนับสนุน

คำถาม  ขับรถพาคนร้ายมาส่งยังสถานที่รับทรัพย์แล้วนัดหมายกำหนดเวลากันว่าจะมารับกลับเมื่อใดถือว่าเป็นตัวการร่วมในการกระทำความผิดดังกล่าวหรือไม่

คำตอบ การขับรถจักรยานยนต์พาจำเลยที่ 1 มายังสถานที่หลักทรัพย์แล้วนัดหมายกำหนดเวลากันว่าจะขับรถจักรยานยนต์มารับกลับเมื่อใดนั้น ถือได้ว่า จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 5 ได้กระทำการอันเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ก่อนและขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงไม่เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์

ได้เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 86 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 5 ในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความตามปวิอาญามาตรา 192 วรรคสองได้

กฎหมายลักษณะพยาน

 เรื่องพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ

พยานวัตถุพยานเอกสารพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้แต่ต้องเป็นพยานที่ไม่ได้เกิดจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญาขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบด้วยประการอื่น  วิ.อาญา. มาตรา 226

ตัวอย่าง

เทปหรือซีดีบันทึกเสียงถือเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่พิสูจน์ความผิดหรือบริสุทธิ์ของจำเลยได้จึงอ้างเป็นพยานหลักฐานได้

สังเกตว่าการบันทึกเสียงอาจเป็นการบันทึกโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในภายหลังก็ถือเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง

การรับฟังเทปหรือซีดีบันทึกเสียงหรือข้อความที่ถอดออกแบ่งออกเป็น 2 กรณี

1 กรณีคู่สนทนาเป็นผู้บันทึก  เป็นการบันทึกคำสนทนาของตนเองกับคู่สนทนาเป็นสิทธิ์ที่จะกระทำได้ไม่ถือว่าเทปหรือซีดีบันทึกเสียงหรือเอกสารที่ถอดข้อความดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบตามมาตรา 226

แต่ถ้าเป็นกรณีหลอกล่อให้คู่สนทนามาเจรจาพูดจากันแล้วมีการแอบบันทึกเสียงไว้คือเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยไม่ชอบตามมาตรา 226 แต่ศาลอาจรับฟังได้ตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 226/1

2 กรณีการลักลอบบันทึกคำสนทนาโดยเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่โดยมีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้เช่น

พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

พ.ศ ๒๕๑๙มาตรา 14 จัตวา

พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ 2542 มาตรา 46

โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงจะดำเนินการได้ถือว่าบันทึกคำสนทนาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายตามปวิอาญามาตรา 226 และเป็นการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 226/1 ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ 

แต่กรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กระทำได้ถ้าเป็นการดักฟังหรือลักลอบบันทึกการสนทนาที่มีการสื่อสารทางโทรคมนาคม เป็นความผิดตามพรบการประกอบกิจการโทรคมนาคมพ.ศ 2544 มาตรา 74 ถือเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบตามมาตรา 226 แต่เป็นการได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 226/1 โดยมีข้อยกเว้นให้รับฟังได้

พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบรับฟังไม่ได้

อาญามาตรา 226 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้แบ่งเป็น 2 กรณีคือ

1 พยานที่เกิดจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญาขู่เข็ญหลอกลวง

2 พยานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบด้วยประการอื่น

พยานที่เกิดจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญาเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ 

ตัวอย่าง

คำรับสารภาพที่ได้ความว่าหากจำเลยไม่ให้การรับสารภาพเจ้าพนักงานตำรวจก็จะต้องจับกุมภรรยาจำเลยและคนในบ้านทั้งหมดด้วยเป็นคำรับสารภาพที่มีเหตุจูงใจและบังคับให้กลัวไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ 

พยานที่เกิดจากการขู่เข็ญจูงใจว่าจะให้พยาบาลออกโดยรับบำนาญและจะไม่จับกุมดำเนินคดีรับฟังไม่ได้

พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นมิชอบประการอื่น

พยานที่จะอ้างเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมีความผิดหรือบริสุทธิ์อีกประการหนึ่งก็คือพยานนั้นจะต้องมีแต่เกิดขึ้นโดยมิชอบประการอื่น

 ตัวอย่าง 

ถ้อยคำที่เป็นคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน 

สังเกตว่ากฎหมายห้ามมิให้รับฟังเฉพาะทำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมหรือชั้นมอบตัวผู้ถูกจับเท่านั้นมิได้ห้ามรับฟังคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยสารจึงยังรับฟังคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนมาประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ลงโทษจำเลยได้

คำให้การของจำเลยในคดีความผิดต่อพรบยาเสพติดให้โทษว่ารับ methamphetamine จากจำเลยอีกคนหนึ่งมิใช่คำให้การรับสารภาพรับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยคนหลังได้ 

บันทึกการจับกุมกระทำขึ้นเนื่องจากจำเลยถูกจับกุมในคดีอื่นก็รับฟังถ้อยคำรับสารภาพดังกล่าวในชั้นจับกุมไม่ได้

การแจ้งสิทธิตามมาตรา 83 วรรค 2 เป็นกรณีเจ้าพนักงานเป็นผู้จับโดยเจ้าพนักงานผู้จับ

1 ต้องแจ้งข้อกล่าวหา

2 แจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับว่าผู้ถูกจับมีสิทธิ์จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้

3 แจ้งสิทธิ์ที่จะพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ

4 ผู้ถูกจับมาแจ้งให้ญาติหรือผู้ที่ตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมได้แต่ต้องเป็นการดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้ไม่เกิดความปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด

ดังนั้นการไม่แจ้งสิทธิดังกล่าวหรือแจ้งสิทธิไม่ครบถ้วนย่อมมีผลทำให้ไม่อาจรับฟังถ้อยคำอื่นในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้


กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 เรื่องคำร้องทุกข์

คำร้องทุกข์คือการที่ผู้เสียหายกล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้นไม่ว่าจะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ

คำร้องทุกข์มีความสำคัญในการวินิจฉัยเกี่ยวกับการดำเนินคดีในความผิดอันยอมความได้ในปัญหาอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนและอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ กล่าวคือพนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนในความผิดอันยอมความได้ต้องมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบก่อนมาตรา 121 วรรค 2 

 ถ้าไม่มีคำร้องทุกข์หรือเป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 2 (7)  พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจสอบสวนและทำให้พนักงานอัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120 ศาลก็ต้องยกฟ้อง

นอกจากนี้ยังเป็นข้อในการพิจารณาปัญหาเรื่องอายุความตามป.อ.มาตรา 96 ในความผิดอันยอมความได้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ถ้าคำร้องทุกข์ไม่ชอบด้วยมาตรา 2 (7 ) ก็ถือว่าไม่มีการร้องทุกข์ในกำหนดเวลาดังกล่าวคดีก็อาจขาดอายุความได้

ตัวอย่าง

การแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อไม่ให้คดีขาดอายุความหรือแจ้งเพื่อเป็นหลักฐานหรือว่าผู้เสียหายไม่มีเจตนาให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดไม่เป็นคำร้องทุกข์

ผู้เสียหายแจ้งต่อผู้ใหญ่บ้านว่าจำเลยร่วมข่มขืนกระทำชำเราแต่ขอดูไปก่อนถ้าจำเลยย้อนมาอีกก็จะเอาเรื่องถ้าไม่มาอีกก็แล้วไปแสดงว่าเป็นแต่แจ้งให้รับทราบเป็นหลักฐานขณะนั้นยังไม่เจตนาให้จำเลยรับโทษไม่เป็นคำร้องทุกข์  

คำร้องทุกข์ที่มีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษไม่จำต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำความผิดก็ใช้ได้

แต่ถ้าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการร้องทุกข์โดยผู้เสียหายเจ้าพนักงานก็มีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดได้

แต่เมื่อได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้จะมีการผ่อนผันให้จำเลยบ้างก็เป็นเพียงรอการดำเนินคดีไว้เท่านั้นไม่ทำให้คำร้องทุกข์เสียไป

หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนไม่ได้ระบุว่าให้อำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยไม่ชัดแจ้งว่ามีเจตนาให้จำเลยได้รับโทษ

การร้องทุกข์หากมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปร้องทุกข์แทนก็ได้ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นนิติบุคคลหนังสือมอบอำนาจต้องทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับของนิติบุคคลนั้นด้วยมิฉะนั้นไม่ถือว่านิติบุคคลนั้นได้ร้องทุกข์แล้ว

คำร้องทุกข์ไม่มีตราประทับของห้างหุ้นส่วนจำกัดแต่ระบุว่าเป็นการร้องทุกข์ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อไม่มีข้อ จำกัดอำนาจว่าต้องใช้ตราประทับของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วยก็ถือว่าเป็นการร้องทุกข์แทนห้างหุ้นส่วนแล้ว

เมื่อมีการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วพนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์ไว้ดำเนินการสอบสวนเป็นความผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

กฎหมายเบื้องต้นทั่วไป

 เรื่องกฎหมายว่าด้วยนิติกรรม

ความผูกพันของบุคคล

กฎหมายแบ่งความผูกพันของบุคคลออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1นิติกรรม  ได้แก่ การกระทำใดๆของบุคคลโดยตั้งใจจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง

อันเป็นผลก่อให้เกิดความผูกพันกันตามกฎหมาย เช่น ทำสัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าห้องพัก ชำระเงินกู้ ทำพินัยกรรม เป็นต้น

2 นิติเหตุ ได้แก่เหตุการณ์ธรรมชาติ หรือการกระทำของบุคคลซึ่งก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้

2.1 เหตุการณ์ธรรมชาติก่อให้เกิดผลทางกฎหมายเช่น การเกิด การบรรลุนิติภาวะ เป็นต้น

2.2 การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายเช่น การครอบครองปรปักษ์ การจัดการงานนอกสั่งเป็นต้น 

ความหมายของนิติกรรม มาตรา 149 ถึง 153 นิติกรรมหมายความว่า การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ์ มาตรา 149

องค์ประกอบของนิติกรรม

1 กระทำโดยการแสดงเจตนา

2 การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ

3 วิธีการแสดงเจตนาชอบด้วยกฎหมาย

4 ผู้แสดงเจตนามุ่งที่จะก่อให้เกิดความผูกพันกันตามกฎหมาย 

5 มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือเป็นการก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับสิทธิ 

ตัวอย่าง

ดำจดทะเบียนสิทธิเก็บกินบนที่ดินของตนให้แก่แดง เป็นการก่อให้เกิดสิทธิแก่แดง 

ดำกู้เงินแดงต่อมาตกลงกันให้เขาชำระหนี้แทนดำด้วยข้าวเปลือก เช่นนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสิทธิเรียกร้องจากเงินเป็นข้าวเปลือก

ดำทำสัญญาขายที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่ขาว  เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากดำไปยังขาว

ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ถือว่าทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เป็นการสงวนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้  

เจ้าหนี้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ทำให้สิทธิเรียกร้องระงับลง


ประเภทของนิติกรรม

1 นิติกรรมฝ่ายเดียว คือการกระทำที่สมบูรณ์เป็นนิติกรรมได้โดยอาศัยการแสดงเจตนาจากบุคคลเพียงฝ่ายเดียวเช่น สัญญาค้ำประกัน การทําพินัยกรรม การตั้งมูลนิธิ การให้สัตยาบัน การบอกล้างโมฆียะกรรม เป็นต้น

2 นิติกรรมสองฝ่าย คือการกระทำที่สมบูรณ์เป็นนิติกรรมเมื่อมีการแสดงเจตนาจากบุคคลทั้งสองฝ่ายนั่นคือมีทั้งคำเสนอและคำสนองเช่น สัญญาจ้างแรงงาน  สัญญาซื้อขาย สัญญาให้เช่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นต้น

ความสมบูรณ์ของนิติกรรม

นิติกรรมจะสมบูรณ์และใช้บังคับได้หรือไม่นอกจากจะพิจารณาองค์ประกอบของนิติกรรมดังกล่าวแล้วยังต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของความสมบูรณ์ของนิติกรรมด้วยดังนี้

1 ความสามารถของผู้ทำนิติกรรม

2 วัตถุประสงค์ของนิติกรรม 

3 แบบของนิติกรรม 

4 การแสดงเจตนาทำนิติกรรม

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

กฎหมายยอมให้บุคคลทำนิติกรรมอย่างกว้างขวางเว้นแต่กรณีต่อไปนี้จะเป็นโมฆะ

1 วัตถุประสงค์ของนิติกรรมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ถ้าเป็นข้อห้ามตามกฎหมายอาญาคู่กรณีจะทำสัญญาฝ่าฝืนไม่ได้เลย มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะเช่น ทำสัญญาจ้างฆ่าคนทำสัญญาซื้อขายยาเสพติดเป็นต้น

ถ้าเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คู่สัญญาอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้ถ้าไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  

ตัวอย่าง

กู้ยืมเงินระหว่างบุคคลคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีสัญญาเฉพาะส่วนดอกเบี้ยเป็นโมฆะ

สัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า ถ้าผิดนัดชำระคราวเดียวให้ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาได้เช่นนี้ เป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนสัญญาบังคับได้ 




วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายอาญา

 เรื่องการใช้กฎหมายอาญา

มาตรา 2

บุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้วให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้นถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

จากบทบัญญัติมาตรา 2 สรุปหลักกฎหมายเกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาได้ 3 ประการดังนี้

1 ต้องมีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไป

2 กฎหมายอาญาต้องบัญญัติไว้แล้วในขณะที่กระทำความผิดหรือกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่ผู้กระทำผิด

 3 กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด

ตัวอย่าง 

ให้อำนาจศาลสั่งโฆษณาคำพิพากษาเท่านั้นมิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งโฆษณาคำขออภัยด้วยการที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยต่อโจทก์ด้วยจึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตามป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยต่อโจทก์จึงไม่ชอบ

มาตรา 217 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นความผิดไม่มีข้อความว่าหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยก็เป็นความผิดแล้วจึงต้องตีความคำว่าทรัพย์ของผู้อื่นโดยเคร่งครัดเพราะเป็นการตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญามิอาจตีความขยายออกไปให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหรือผู้ต้องหาได้

กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดและกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดไม่แตกต่างกัน 

ก็จะต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดจะปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำผิดไม่ได้ 



 

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายอาญา

 เรื่องการกระทำโดยพลาด

หลักเกณฑ์คือ เจตนาที่จะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาดไปให้ถือว่ากระทำโดยเจตนาแก่บุคคลที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น  

  แต่จะลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคลหรือเพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับผู้ได้รับผลร้ายไม่ได้  

การกระทำโดยพลาดต้องมีผู้เสียหายถูกกระทำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยผู้กระทำต้องกระทำโดยเจตนา (ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล)

ต่อผู้เสียหายคนหนึ่งส่วนผู้เสียหายอีกคนหนึ่งผู้กระทำต้องไม่มีเจตนากระทำด้วยหากผู้กระทำกระทำโดยเจตนาต่อผู้เสียหายคนหลังด้วยก็ไม่ใช่การกระทำโดยพลาดตามมาตรา 60

ตัวอย่าง

การสาดเหล้าไปยังบุคคลหนึ่ง..ผิดฐานใช้กำลังทำร้ายไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ป.อมาตรา 391

มื่อเหล้าไปถูกอีกคนหนึ่งเป็นการกระทำโดยพลาด

จำเลยถูกข่มเหงแล้วจำเลยได้ยิงคนที่ข่มเหงในขณะนั้น แต่เนื่องจากคนที่ข่มเหงต่างวิ่งหนีไปกระสุนปืนพลาดไปถูกผู้เสียหายเข้า จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 60  แต่การกระทำของจำเลยนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากจำเลยถูกข่มเหงโดยไม่เป็นธรรม และกระทำลงไปโดยบันดาลโทสะจึงมีความผิดตาม ปอมาตรา 288 ,80 ประกอบด้วยมาตรา 72



กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 เรื่อง สิทธิของจำเลย 

นับแต่เวลายื่นฟ้องแล้วจำเลยมีสิทธิ์นั้นต่อไปนี้

1 ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม

2 แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาในศาลชั้นต้นตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา

3 ศึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

4 ตรวจดูสิ่งที่มันเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาและถ่ายรูปสิ่งนั้นๆ

5 ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาลและคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น

6 ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของต้น

ถ้าจำเลยมีทนายความทนายความนั้นย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยดังกล่าวแล้วด้วย

เมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแล้วให้ผู้เสียหายมีสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง (6)เช่นเดียวกับจำเลยด้วย


ที่น่าสนใจคือสิทธิ์ของจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในวง

( 6)  ที่มีสิทธิ์ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน




กฎหมายลักษณะพยาน

 คำถาม ประจักษ์พยานขัดแย้งกับพยานความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ใครมีน้ำหนักมากกว่าในการรับฟังพยานหลักฐาน

คำตอบมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยดังนี้ 

ผู้เชี่ยวชาญมิได้รู้เห็นการทำหนังสือสัญญากู้เงินว่าได้ทำกันจริงหรือไม่ จึงเป็นเพียงพยานผู้ให้ความเห็นต่อศาลตามที่มีบทบัญญัติของกฎหมายอนุญาตไว้โดยเป็นความเห็นตามหลักวิชาการและเป็นการให้ความเห็นเพื่อช่วยศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีแทนศาล

ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวจึงรับฟังได้เพียงใดย่อมขึ้นกับความสมเหตุสมผลของความเห็นนั้นด้วย

ดังนั้นเมื่อโจทก์มี ค.ซึ่งรู้เห็นการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปโดยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาด้วยมาเบิกความยืนยันว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ดังกล่าวและรับเงินที่กู้ไปจากโจทก์แล้วโดยจำเลยมิได้โต้แย้งพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานจำเลยซึ่งเป็นเพียงพยานความเห็นช่วยว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริง


กรณีประจักษ์พยานขัดแย้งกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ถ้าประจักษ์พยานไม่มีข้อพิรุธแม้จะมีปากเดียวก็มีน้ำหนักดีกว่าความเห็นของผู้เชียวชาญ

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายเบื้องต้น

 เรื่องซื้อขาย

ซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

ตัวอย่าง

การเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปใช้ก่อสร้างคลองชลประทานเป็นการใช้อำนาจรัฐเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการสาธารณูปโภคและเป็นการใช้อำนาจรัฐบังคับเอาทรัพย์สินของเอกชนเพื่อประโยชน์ของรัฐ โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจว่าจะยินยอมหรือไม่ ทั้งไม่อาจกำหนดหรือต่อรองราคาที่คุณพอใจได้เพราะเป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายมหาชน เช่นนี้แม้การจดทะเบียนโอนที่ดินใช้คำว่าซื้อขาย ก็ไม่ใช่การซื้อขายที่เป็นนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 453 ซึ่งจะต้องเกิดจากการกระทำด้วยความสมัครใจและมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ตามมาตรา 149 จึงไม่อาจนำกฎหมายเรื่องการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมตามมาตรา 156 อันเป็นหลักของกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับได้ 

ผู้ขายไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในการซื้อขาย

ตัวอย่างเช่น

สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทระบุกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกแก่ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาเป็นงวดตามที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว จึงถือเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขซึ่งกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะทชำระราคาครบถ้วน ทรัพย์สินที่ซื้อขายโดยมีเงื่อนไขจะโอนกรรมสิทธิ์ในภายหน้ากันนั้น 

ผู้ขายอาจนำทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกขายล่วงหน้าได้ และเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อปฏิบัติการไปตามเงื่อนไขแล้ว ผู้ขายจึงไม่จำต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอยู่ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย 

ดังนั้นการที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยให้โอนกรรมสิทธิ์กันในภายในหน้า

ขณะทำสัญญา โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่สมบูรณ์ สัญญาก็มีผลใช้บังคับได้

การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระราคาให้แก่โจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

กฎหมายลักษณะพยาน

 เรื่องการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นสอบสวน

ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา มาตรา 131

การรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในชั้นสอบสวนมาตรา 131/1

ในความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปีอยู่ในบังคับตามมาตรา 131/1 วรรคหนึ่งแต่ถ้าเป็นความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปีต้องดำเนินการตามมาตรา 131/1 วรรค 2

ตัวอย่าง

การที่พนักงานสอบสวนพบจำเลยนอนหมดสติอยู่บนเตียงผู้ป่วยและได้กลิ่นสุราแต่ไม่สามารถตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ได้จึงเป็นกรณีที่พันตำรวจโท ส.สงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราหรือไม่ พันตำรวจโทจึงมีอำนาจที่จะทำการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตามปวิอาญามาตรา 131/1 วรรคหนึ่ง 

การที่พันตำรวจโทศ ส. มีหนังสือขอให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเลยเก็บตัวอย่างเลือดของจำเลยเพื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ว่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่จึงเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความผิดที่จำเลยถูกกล่าวหาตามปวิอาญามาตรา 131 การสอบสวนของพันตำรวจโท ส.พนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ เอกสารใดๆโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ ตามปวิอาญามาตรา 131/1 ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบว่าวิธีการที่พนักงานสอบสวนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจหา DNA ที่ขวดน้ำส้มของกลาง โดยการใช้ไม้พันสำลีเช็ดขวดน้ำส้มของกลางส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจนั้นไม่ใช่วิธีทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ 

ผลการตรวจของผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

หัวหน้าพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐาน มาตรา 132

1 ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอมหรือตรวจตัวผู้ต้องหาหรือตรวจสิ่งของหรือที่ทางท่านสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ให้รวมทั้งทำภาพถ่ายแผนที่หรือภาพวาดจำลองหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือหรอลายเท้า กลับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่าจะทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น 

ในการตรวจผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง หากผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็นหญิง ให้จัดให้เจ้าพนักงานซึ่งเป็นหญิงหรือหญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ ทั้งนี้ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาจะขอให้นำบุคคลใดมาอยู่ร่วมในการตรวจนั้นด้วยก็ได้

การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานบุคคล มาตรา 133

พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดีให้มาตามเวลาและสถานที่ในหมายแล้วให้ถามปากคำบุคคลนั้นไว้ มาตรา 133 วรรคหนึ่ง

การถามปากคำนั้นพนักงานสอบสวนจะให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบานหรือปฏิญาณ

ตัวเสียก่อนก็ได้และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยพยานบุคคลมาตรา 133 วรรค 2

ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจ อยู่ใช้กลอุบายอื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ มาตรา 133 วรรค 3

ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ตั้งถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่ผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ ทั้งนี้ผู้เสียหายจากขอให้บุคคลใดอยู่ร่วมในการถามปากคำนั้นด้วยก็ได้ มาตรา 133 วรรค 4

กฎหมายอาญา

 เรื่อง กระทำโดยเจตนา (มาตรา 59 วรรค 2 )

กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ และในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

ปัญหาว่าผู้กระทำมีเจตนาทำร้ายร่างกายหรือเจตนาฆ่ามีหลักการวินิจฉัยจากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาดังนี้

1 ดูจากความร้ายแรงของอาวุธ

2 ดูจากอวัยวะที่ถูกกระทำ 

3 ดูจากลักษณะบาดแผลที่ได้รับ 

4 ดูจากพฤติการณ์แห่งการกระทำอื่นๆประกอบ 

เฉพาะอาวุธ ถ้าเป็นอาวุธปืนโดยปกติศาลฎีกาถือว่ามีเจตนาฆ่า

บางกรณีการใช้อาวุธปืนยิงไม่ถือว่ามีเจตนาฆ่าเช่น รู้ว่ากระสุนปืนบรรจุเฉพาะดินปืนอัดด้วยกระดาษไม่อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ หรือมีเจตนายิงที่ขาระยะใกล้

ตัวอย่าง

จำเลยเล็งปืนไปที่หน้าอกผู้เสียหายแล้ว เผอิญมีคนมาปัดปืน กระสุนจึงไปถูกผู้อื่นที่เท้า เช่นนี้ถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า

การยิงขู่โดยไม่ประสงค์ให้ถูกผู้ใดแต่กระสุนปืนแฉลบไปถูกถือว่าไม่มีเจตนาฆ่าและเจตนาทำร้าย

การใช้อาวุธปืนยิงไปที่พื้นในขณะผู้อื่นกำลังเดินเข้าไปหาในระยะใกล้เป็นการกระทำย่อมเล็งเห็นว่ากระสุนปืนอัดกระเด็นไปถูกผู้นั้นได้รับบาดเจ็บ ถือว่ามีเจตนาทำร้าย

การใช้ปืนจ้องแต่ไม่ยิงทั้งที่มีโอกาสยิงได้ถือเป็นการใช้ปืนจ้องข่มขู่เท่านั้นไม่มีเจตนาฆ่า

จำเลยเลือกฟันอวัยวะสำคัญแต่พลาดไปถูกร่างกายส่วนอื่นจึงมีบาดแผลเพียงเล็กน้อยถือว่าเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่ามิใช่เพียงทำร้าย 

ใช้แอลกอฮอล์ซึ่งเป็นของเหลวไวไ ไฟเทราดตามร่างกาย แล้วใช้ไฟจุดเผาซึ่งอยู่ภายในอาคารเป็นเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะฆ่าผู้ตายและลักษณะการกระทำของจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าไฟต้องลุกไหม้ภายในอาคาร

จำเลยใส่สารพิษลงในน้ำในปริมาณไม่มากพอที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ให้ผู้เสียหายเดิมแสดงว่าจำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายไม่ได้มีเจตนาฆ่า



กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 เรื่อง ผู้เสียหายโดยนิตินัย (ผู้เสียหายตามกฎหมาย )

ผู้เสียหายโดยนิตินัยหมายถึง ผู้ที่ไม่มีส่วนในการกระทำผิดหรือไม่เป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนหรือรู้เห็นในการกระทำผิดนั้นด้วยหรือสมัครใจให้เกิดความผิดนั้นหรือมีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ตัวอย่าง

1.ต่างฝ่ายต่างสมัครใจทะเลาะวิวาทกันแล้วเข้าทำร้ายร่างกายกันไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดต่อชีวิตและร่างกาย

2. หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกนั้นถือว่าหญิงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและ แม้หญิงจะถึงแก่ความตาย บิดาของหญิงนั้นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องผู้ที่ทำให้หญิงนั้นแท้งลูก

3. ต่างประมาทไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

ผู้ตายและจำเลยต่างขับรถด้วยความประมาทและต่างขับรถเข้าไปในช่องทางเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่งฟังได้ว่าขับรถโดยประมาททั้งสองฝ่ายเมื่อผู้ตายมีส่วนกระทำความผิดด้วยผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

4. การที่ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามพรบห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา

5. ต่างคนต่างด่าว่าอีกฝ่ายหนึ่งในการทะเลาะกันไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

6. โจทก์จำเลยทะเลาะกันแล้วต่างคนต่างกันจำเลยด่าก่อนโจทก์จึงด่าตอบโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายฟ้องจำเลยว่าดูหมิ่นซึ่งหน้าไม่ได้

ข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ที่ผิดกฎหมาย

โจทก์ฟ้องจำเลยว่าฉ้อโกงโดยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจะขายธนบัตรปลอมให้ โจทย์หลงเชื่อจึงจ่ายเงินให้จำเลยไปความจริงจำเลยไม่มีธนบัตรปลอมเลย ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ที่ผิดกฎหมาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงได้

ผลของการไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

1. กรณีความผิดยอมความได้ผู้เสียหายยอมไม่อาจใช้สิทธิ์ใดๆตามกฎหมายได้เลยเช่น การร้องทุกข์ การฟ้องคดี การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วม การอุทธรณ์ฎีกา และมีผลทำให้บุคคลตามป.วิ.อาญามาตรา 5 ไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายด้วย  

2. ความผิดต่อแผ่นดิน ผู้เสียหายไม่มีสิทธิ์ต่างๆดังกล่าวเช่นเดียวกับความผิดอันยอมความได้ แต่ผู้เสียหายอาจกล่าวโทษให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วส่งให้พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนได้


วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายเบื้องต้นทั่วไป

 เรื่องนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบด้วย ืทบวงการเมือง  สมาคม ิ มูลนิธิ  ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้วและ  บริษัทจำกัด

ทบวงการเมือง  ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง แต่ส่วนราชการที่ต่ำกว่ากรม เช่น กอง แผนก    เป็นต้น ไม่เป็นนิติบุคคล

จังหวัด เป็นการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค จัดเป็นนิติบุคคล

องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เป็นการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เหล่านี้เป็นนิติบุคคล

สมาคม

สมาคมคือองค์การที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการใดกิจการหนึ่งที่ไม่ได้หวังผลกำไรสมาคมต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

ข้อบังคับของสมาคมอย่างน้อยต้องมีรายการต่อไปนี้ ชื่อสมาคม วัตถุประสงค์ ที่ตั้ง วิธีรับสมาชิก การขาดจากสมาชิกภาพ อัตราค่าบำรุง คณะกรรมการ การจัดการสมาคม การบัญชี และทรัพย์สิน

มูลนิธิ

มูลนิธิคือทรัพย์สินที่ได้จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยไม่ได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนแล้ว

มูลนิธิต้องมีข้อบังคับ และต้องมีคณะกรรมการประชุมด้วย บุคคลอย่างน้อย 3 คนเป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิ

ข้อบังคับของมูลนิธิอย่างน้อยต้องมีรายการต่อไปนี้ คือ ชื่อมูลนิธิ วัตถุประสงค์  ทรัพย์สินขณะจัดตั้ง ข้อกำหนดเกี่ยวกับกรรมการ การจัดการมูลนิธิ

ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว

ห้างหุ้นส่วนคือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำกิจการร่วมกันเพื่อแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนต้องอยู่ในกรอบของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท

ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว และห้างหุ้นส่วนจำกัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล

บริษัทจำกัด

บริษัทคือธุรกิจที่ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น หุ้นละเท่ากันโดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังทรงใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ บริษัทต้องจดทะเบียนเสมอ การดำเนินงานของบริษัทต้องอยู่ในกรอบของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบริษัท

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา

1 การที่บุตรผู้เยาว์ทำสัญญาเป็นมูลหนี้แทนบิดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจทางปกครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลนั้นย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองกับประโยชน์ของผู้เยาว์อย่างชัดแจ้ง สัญญาดังกล่าวถือเป็นโมฆะ จะบังคับเอาแก่ผู้เยาว์นั้นไม่ได้

2 นิติกรรมที่โจทก์ทำกับจำเลยในขณะที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ แต่ไม่ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นเป็นโมฆียะ เมื่อนิติกรรมนั้นไม่ได้บอกล้าง จึงมีผลผูกพันโจทก์อยู่

3 ผู้เยาว์อายุ 18 ปี มีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ

4 เจ้าพนักงานที่ดินไม่ตรวจสอบโฉนดตามที่มีโอกาสตรวจ จึงไม่ทราบว่าโฉนดปลอม เป็นประมาทเลินเล่อทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย กรมที่ดินต้องรับผิดชอบในการกระทำของพนักงานที่ดิน


กฎหมายอาญา

 เรื่องช่วยผู้กระทำความผิดมิให้ถูกจับกุม

มาตรา 189

ผู้ใดช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดหรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดอันมิใช่ความผิดลหุโทษเพื่อไม่ให้ต้องโทษ

โดยให้พำนักแก่ผู้นั้นโดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 4,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ตัวอย่าง 

1.ตำรวจเข้าจับผู้เล่นการพนัน ล. ร้องบอกผู้เล่นว่า  ตำรวจมา บางคนหลบหนีได้ ล. ผิดตามมาตรานี้ 

2 .จำเลยรู้หรือควรรู้ว่า ย. ต้องหาว่าทำผิด ตำรวจกำลังติดตามจับ จำเลยบอกตำรวจว่าไม่มีตัว ย. ซึ่งซ่อนอยู่ในบ้านจำเลย  มีความผิดตามมาตรานี้ 

3. ท. ถูกฟ้องว่าฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นยกฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษา ท. หลบหนี

ศาลออกหมายจับ ท. จำเลยให้พำนักและซ่อนเร้น ท. และบอก ท. ให้รู้ตัวเมื่อตำรวจมาจับ จำเลยยังไม่ผิดตามมาตรา 189 นี้ เพราะตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูง เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ต้องถือว่า ท. ไม่ใช่ผู้กระทำความผิด และการออกหมายจับนั้นก็เพื่อให้ได้ตัว  ท.มาฟังคำพิพาษา มิใช่เพราะกระทำผิดฐานหลบหนีไม่ไปศาล...





วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายเบื้องต้นทั่วไป

 เรื่องลูกจ้าง

มีคำพิพากษาศาลฎีกาจำนวนหนึ่งที่วินิจฉัยให้ลูกจ้างต้องรับผิดต่อนายจ้างในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่นายจ้างอันเนื่องมาจากการกระทำของลูกจ้างเช่น 

1 ลูกจ้างทำให้เงินของนายจ้างขาดหายไปจากบัญชี

2 ลูกจ้างนำเงินของนายจ้างไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว

3 ลูกจ้างเบียดบังเอาเงินของนายจ้างไป

4 ลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

นายจ้างมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ถ้าลูกจ้างจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหายหรือฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน

เรื่องออกใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานให้

มาตรา 585 บัญญัติว่า เมื่อการจ้างแรงงานลูกจ้างสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร

คำถาม  กรณีที่ลูกจ้างเข้าทดลองงานต้องออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้ลูกจ้างหรือไม่

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

ลูกจ้างซึ่งนายจ้างรับเข้าทดลองงาน  เป็นลูกจ้างชั่วคราวแต่ก็ถือว่าเป็นลูกจ้างซึ่งนายจ้างต้องออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้

รายละเอียดที่จะต้องมีใบสำคัญก็คือ

 1.ลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไหร่ ซึ่งก็หมายถึงระยะเวลารวมทั้งหมดที่ลูกจ้างคนนั้นได้ทำงานกับนายจ้างซึ่งได้แก่วันเดือนปีที่เริ่มทำงานและวันออกจากงาน

2.งานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไรซึ่งก็น่าจะหมายถึงว่าทำงานในตำแหน่งหน้าที่อะไรลักษณะงานเป็นงานอะไร

3.อาจมีรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมอีกก็ได้กฎหมายไม่ได้กำหนดห้ามไว้

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 คำถาม คดีความผิดเกี่ยวกับเพศการถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงในชั้นสอบสวนต้องให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวนเว้นแต่ผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นและให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ตามปวิอาญามาตรา 133 วรรค 4 หากพนักงานสอบสวนเป็นชายและไม่ได้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้จะเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

การที่พนักงานสอบสวนคดีไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวแม้จะเป็นการไม่ชอบแต่ก็หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดและถือเท่ากับไม่มีการสอบสวนในความผิดนั้นมาก่อนอาจจะทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตามปวิอาญามาตรา 120 ไม่

สรุป อัยการมีอำนาจฟ้อง

กฎหมายล้มละลาย

 การฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย

หลักเกณฑ์การฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย บัญญัติไว้ในมาตรา 9

เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

1 ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

2 ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคลเป็นหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท

3 นี่นั้นกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นนจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม

ตัวอย่าง  พี่จะถือว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่

การตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อแสดงว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะพึงยึดมาชำระหนี้ได้เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมายล้มละลาย

  โจทก์จะต้องตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ ่ ณ  สำนักงานที่ดินซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยูในเขตความรับผิดชอบและต้องตรวจสอบก่อนฟ้องคดีล้มละลายเพื่อแสดงว่าลูกหนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในเวลาเริ่มต้นการฟ้องคดีล้มละลาย

กฎหมายลักษณะพยาน

 คำถาม ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือโดยมีการวางเงินมัดจำด้วย 

สัญญาจะซื้อจะขายมีข้อความระบุว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อจะขายที่ดินตารางวาละ 10,000 บาทในส่วนที่เป็นถนนตามสภาพจริงจะไม่ถูกนำมาคำนวณเป็นราคาที่ดินที่จะซื้อจะขายโจทก์จะนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความตกลงว่าให้จำเลย รังวัดแบ่งแยกกันส่วนที่เป็นแนวเสาไฟฟ้าออกจากที่ดินที่จะซื้อจะขายได้หรือไม่

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นหนังสือโดยมีการวางเงินมัดจำด้วยการวางเงินมัดจำเป็นเพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ข้อตกลงทำสัญญากันโดยการวางเงินมัดจำ

การฟ้องร้องบังคับคดีจึงต้องอาศัยหลักฐานตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำไว้กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 94 (ข)  ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก

เมื่อในสัญญาจะซื้อจะขายมีข้อความระบุชัดเจนอยู่แล้วว่าทั้งสองฝ่ายตกลงจะซื้อจะขายที่ดินตารางวาละ 10,000 บาทโดยส่วนที่เป็นถนนตามสภาพจริงจะไม่ถูกนำมาคำนวณเป็นราคาที่ดินที่จะซื้อจะขาย  โดยไม่มีข้อความว่าให้จำเลยกันส่วนที่เป็นแนวเสาไฟฟ้าออกจากที่ดินจะซื้อจะขายแต่อย่างใด  

ดังนั้น การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ายังมีข้อตกลงว่าให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกกันส่วนเพื่อเป็นแนวเสาไฟฟ้าออกจากที่ดินที่จะซื้อจะขายนอกเหนือข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายจึงต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อความดังกล่าว


วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายเบื้องต้นทั่วไป

 เรื่องกฎหมายว่าด้วยทรัพย์

ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน

ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ป.พ.พ. ม.137 คำว่ารูปร่าง หมายถึงสิ่งที่เรามองเห็นได้ด้วยตาจับตองและสัมผัสได้

ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ ป.พ.พ. ม.138 แม่กฎหมายจะบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น นักกฎหมายส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีความเห็นว่าวัตถุที่มีรูปร่างทุกชนิดจะเป็นทรัพย์ไปทั้งหมด เช่น  ดวงดาว  ก้อนเมฆ น้ำทะเล เป็นต้น 

ประเภทของทรัพย์ มาตรา 139 ถึง 148

1 อสังหาริมทรัพย์มาตรา 139

อสังหาริมทรัพย์หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์สินอันติดอยู่ในที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์สินติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วยมาตรา 139

ที่ดินหมายถึง อาณาเขตบริเวณพื้นผิวที่สามารถวัดได้เป็นความกว้างความยาวที่แน่นอนไม่ได้หมายถึงเนื้อดินที่ขุดขึ้นมา

ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหมายถึง ทรัพย์ที่ติดตรึงอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรไม่ว่าจะติดตรึงโดยธรรมชาติหรือมีบุคคลนำมาติดตรึงเช่น ต้นไม้ยืนต้น บ้านเรือน สะพาน อนุสาวรีย์ เป็นต้น 

ทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองโดยธรรมชาติหรือมนุษย์ทำขึ้นและมองเห็นได้ง่ายวาเป็นอันเดียวกับที่ดินได้แก่ กรวด ทราย หิน แร่ธาตุต่างๆ แม่น้ำ ลำคลองหนองบึงถนน แต่ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ต่างๆที่ตกทอดฝังอยู่ในดินเช่น เหรียญ สร้อยคอ แหวน พระพุทธรูป เป็นต้น

ทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน  หรือเกี่ยวกับทรัพย์อนติดอยู่กับที่ดินหรือเกี่ยวกับทรัพย์ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น ได้แก่ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง สิทธิอาศัย สิทธิขายฝากเป็นต้น

2 สังหาริมทรัพย์ มาตรา 140

สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และหมายความถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วยมาตรา 140

1 ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินใดที่ไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์แล้วให้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้แก่

สัตว์ที่สามารถขนเคลื่อนที่ได้เช่น  สัตว์ รถ ตู้ หนังสือ เป็นต้น

กำลังแรงแห่งธรรมชาติเช่น พลังน้ำตก พลังไอน้ำ  แสงแดด เป็นต้น

ไม้ล้มลุกและธรรมชาติ มันเก็บผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี เช่น พืชผักสวนครัว ข้าวต่างๆ ถั่วต่างๆ เป็นต้น 

2 สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นเช่น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์   สิทธิเช่ารถ  สิทธิของผู้รับจำนำและสิทธิในสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างเช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิตามสัญญากู้ เป็นต้น

ข้อสังเกต

1 สังหาริมทรัพย์บางประเภทได้แก่ เรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป  แพ สัตว์พาหนะ แม้ว่าการซื้อขายหรือการทำนิติกรรมบางอย่างเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม ทรัพย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์

2 อสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าคู่กรณีเจตนาจะให้ทรัพย์นั้นโอนไปในลักษณะที่พ้นจากสภาพเป็นทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ ก็ถือว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์เช่น

ตัวอย่าง เรือนโดยสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ถ้าเจ้าของยกให้โดยให้รื้อถอนไปเรือนที่รื้อถอนแล้วจึงเป็นสังหาริมทรัพย์ 

การซื้อขายผลไม้ที่ติดอยู่กับต้น เจตนาของการซื้อขายอยู่ที่สภาพรถจากต้นแล้วเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์

ความแตกต่างระหว่างอสังหาริมทรัพย์กับสังหาริมทรัพย์

1.อสังหาริมทรัพย์มีเจ้าของกรรมสิทธิ์เสมอ

 2.ทรัพย์สิทธิบางชนิดมีได้เฉพาะในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น

3 อายุความได้ สิทธิ ครอบครองปรปักษ์ต่างกัน 

4.แบบนิติกรรมกฎหมายกำหนดไว้ต่างกัน

5.อสังหาริมทรัพย์มีแดนกรรมสิทธิ์ แต่สังหาริมทรัพย์ไม่มีแดนกรรมสิทธิ์

นิสิตค้นคว้าเพิ่มเติม 

 ทรัพย์แบ่งได้ ทรัพย์แบ่งไม่ได้ ทรัพย์นอกพาณิชย์ 

ส่วนควบ อุปกรณ์ และดอกผลของทรัพย์









กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 เรื่อง.ผู้เสียหายได้รับหมายให้มาเป็นพยานแต่ไม่มาศาล.ศาลสามารถรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนมาเป็นพยานได้หรือไม่

ป.วิ.อาญา มาตรา 226 / 3 วรรคสอง (2)  ระบุไว้ว่า

ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลหรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลหากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้นให้ถือเป็นพยานบอกเล่า

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยดังนี้ 

ผู้เสียหายได้รับหมายเรียกให้มาเป็นพยานที่ศาลแต่ถึงวันนัดกับไม่มาศาลและไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อเอาตัวใหม่มาเป็นพยานแต่ก็ไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล

ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นศาลสามารถนำพยานบอกเล่า

(คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวน) ไปฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ไม่ได้ต้องห้ามรับฟัง..ตามป.วิ.อาญา มาตรา 226/3 วรรค 2 ( 2 )


กฎหมายอาญา

 เรื่อง  ตัวกลางเรียกสินบน 

มาตรา 143  ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน  สส. สจ .สท.โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตน ให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

ตัวอย่าง   การเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายเพื่อให้ผู้พิพากษาพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งไม่ใช่อัยการเจ้าของสำนวนช่วยเหลือในทางคดีในคดีที่ผู้อื่นถูกดำเนินคดีอาญาและยังไม่มีการให้เงินแก่กันจะเป็นความผิดตาม ปอ.มาตรา 143 หรือไม่

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

เรียกทรัพย์ว่าจะนำไปให้ผู้พิพากษาตัดสินยกฟ้องแม้ผู้เรียกไม่ตั้งใจจะเอาทรัพย์ที่เรียกไปให้เจ้าพนักงานนั้นเลยก็เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดตามป.อ. มาตรา 143 แล้ว 

เรียกและรับเงินจากผู้ต้องหาอ้างว่าจะเอาไปให้พนักงานสอบสวนเพื่อช่วยให้พ้นคดีที่ต้องหาเป็นความผิดตามปอ. มาตรา 143 แล้ว




กฎหมายลักษณะพยาน

 เรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน

พยานหลักฐานตามวิธีการนำสืบแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ  1 พยานบุคคล 2 พยานเอกสาร 3 พยานวัตถุ 4 พยานผู้เชี่ยวชาญ

พยานบุคคลหมายถึง  บุคคลที่มาให้การด้วยปากต่อหน้าศาล  ซึ่งศาลจดลงไว้ในสำนวน  

1 ความสามารถที่จะเป็นพยาน

คือบุคคลได้รู้เห็นเหตุการณ์ใดๆซึ่งอาจให้ความสัตย์จริงแก่ศาลได้หรือที่ศาลอาจเชื่อฟังถ้อยคำได้ บุคคลนั้นจะต้องสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้

ป.วิ.แพ่งมาตรา 95 ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้นสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้

กรณีคนหูหนวกหรือเป็นใบ้หรือทั้งหูหนวกและเป็นใบ้นั้น..อาจใช้วิธีแสดงกิริยาท่าทางหรือล่ามมาช่วยในการสื่อความหมายก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม  ป.วิ.แพ่ง มาตรา 96 

ชาวต่างชาติที่ไม่รู้ภาษาไทยก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้โดยใช้ล่าม ตามป.วิ.แพ่งมาตรา 46 วรรคท้าย 

ตัวอย่าง  ผู้เสียหายอายุ 15 ปีเป็นคนปัญญาอ่อนพูดเรื่องยากๆไม่ค่อยจะรู้เรื่องแต่เบิกความต่อศาลในคดีอาญาในความผิดทางเพศได้เรื่องได้ราวดังนี้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ 

ในคดีแพ่งคู่ความฝ่ายตรงข้ามก็อาจอ้างมาเป็นพยานได้ตามป.วิ.แพ่งมาตรา 47 แต่โดยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกระทำกันเพราะคู่ความฝ่ายตรงข้ามก็เป็นปฏืปักษ์กันอยู่แล้ว  

การอ้างตนเองเป็นพยานก็เป็นสิทธิ์ของคู่ความที่จะกระทำได้  เพราะโดยปกติคู่ความในคดีแพ่งก็มักจะอ้างตัวเองเป็นพยานเข้าเบิกความเป็นปากแรกเพื่อเล่าเรื่องราวที่ตนอ้างมาในคำฟ้องคำให้การให้ศาลฟัง

2 พยานบุคคลจะต้องเป็นประจักษ์พยาน 

พยานบุคคลต้องเป็นประจักษ์พยานคือเป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยินหรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง

พยานที่มิได้รู้เห็นข้อเท็จจริงมาด้วยตนเองเรียกว่าพยานบอกเล่า..ซึ่งถือว่าเป็นพยานที่ตรงข้ามกับประจักษ์พยาน

พยานบอกเล่าสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ซึ่งต้องเข้าข้อยกเว้นตามป.วิ.แพ่งมาตรา 95/1 เท่านั้น

พพยานบุคคลจะต้องเบิกความในลักษณะยืนยันข้อเท็จจริงที่ตนประสบพบเห็นมามิใช่เบิกความตามความคิดเห็นของตน ซึ่งศาลจะเป็นผู้ประเมินข้อมูลจากการเบิกความ

แต่ก็มีหลักการยอมรับฟังความเห็นของพยานได้เมื่อมีการแสดงความเห็น ดังต่อไปนี้

1 ความเห็นในความคล้ายคลึงหรือเหมือนกันของตัวบุคคลหรือวัตถุ

2 ความเห็นประกอบข้อความหมิ่นประมาทพยานสามารถแสดงความเห็นได้ว่าเข้าใจว่าคำพูดหรือข้อความหมิ่นประมาทนั้นหมายถึงใคร

3.ความเห็นเรื่องลายมือเขียนหนังสือลายมือชื่อ

4 ความเห็นเรื่องภาวะแห่งจิตใจอยู่ในร่างกายเรื่องอายุ ราคา ระยะทาง ความเร็ว หรือเรื่องอื่นๆที่คนทั่วไปสื่อความหมายกันทางความเห็น

นิสิตค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่อง

พยานเอกสาร  พยานวัตถุ

และพยานผู้เชี่ยวชาญ


วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 เรื่อง การรับฟังพยานหลักฐานที่เคยกระทำความผิดมาก่อน

มาตรา 226/2 บัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นๆเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำกระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้อง

คำถาม ประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดศาลจะนำมารับฟังเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้องได้หรือไม่

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ 

ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์แห่งคดีจากรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยมาวินิจฉัยเพื่อใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำเลยหรือไม่มิได้ใช้รับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องเพื่อลงโทษจำเลย

ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้วซึ่งจำเลยไม่คัดค้านถือได้ว่าจำเลยยอมรับพฤติการณ์แห่งคดีตามรายงานดังกล่าว

ดังนั้นถือได้ว่าการที่ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์แห่งคดีจากรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยมาวินิจฉัยเพื่อใช้ดุลย์พินิจไม่รอการลงโทษจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย



กฎหมายอาญา

 เรื่องบันดาลโทสะ

มาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

คำถาม การกระทำความผิดในระยะเวลาที่สืบเนื่องเชื่อมโยงติดต่อกันมาโดยตลอด เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ขาดตอนจากการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จะอ้างเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะได้หรือไม่

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

การที่จำเลยถูกผู้เสียหายที่ 1 ชกต่อยถึง 2 ครั้ง เป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม หลังจากนั้นจำเลยขับรถกลับไปเอาอาวุธมีดที่บ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 300 เมตร แล้วนำอาวุธมีดกลับมาฟันทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ในทันที ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวตั้งแต่ผู้เสียหายที่ 1 ชกต่อยจำเลยแล้ว จำเลยกลับไปที่บ้านนำเอาอาวุธมีดมาฟันผู้เสียหายที่ 1 นั้น เป็นระยะเวลาที่สืบเนื่องเชื่อมโยงติดต่อกันมาโดยตลอดในขณะนั้นเอง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ขาดตอน เนื่องจากบ้านพักของจำเลยกับที่เกิดเหตุห่างกันไม่มากนัก กรณีถือได้ว่าจำเลยกระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อ มาตรา 72

เรื่องผู้สนับสนุน

มาตรา 86 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆมันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดแม้ผู้กระทำความผิดจะไม่ได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตามผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

คำถาม การเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพวกแต่ไม่เข้าไปห้ามปรามหรือขัดขวางเพื่อมิให้ผู้เสียหายถูกกระทำชำเราโดยไม่ปรากฏว่ามีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นหรือร่วมกระทำความผิดกับพวกด้วยจะเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนหรือไม่

คำตอบ  มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

การที่จำเลยที่ 1 เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพวกจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้เข้าไปห้ามปรามหรือขัดขวางเพื่อมิให้โจทก์ร่วมถูกข่มขืนกระทำชำเรากรณีดังกล่าวก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

กฎหมายเบื้องต้นทั่วไป

 เรื่องบุคคลธรรมดา

สภาพบุคคล

บุคคลธรรมดาคือผู้คลอดจากครรภ์มารดาแล้วอยู่รอดมีชีวิต สภาพบุคคลย่อมเริ่มเมื่ออยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตาย

ส่วนประกอบสภาพบุคคลจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้

1 สัญชาติคือความผูกพันกับประเทศ

2 ชื่อมีชื่อตัวและชื่อสกุล

3 ภูมิลำเนา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นอยู่เป็นแหล่งสำคัญหรืออยู่เสมอ

4 สถานะ คือสถานะในประเทศชาติครอบครัวที่ดำรงอยู่เช่นผู้เยาว์ผู้บรรลุนิติภาวะบิดามารดาบุตร

5 ความสามารถคือ การใช้สิทธิ์และหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายได้หรือไม่เพียงใด

สัญชาติ ผู้ได้สัญชาติไทยโดยกำเนิดได้แก่

1 ผู้เกิดโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย

2 ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย

ภูมิลำเนาคือ ถิ่นที่อยู่ประจำของบุคคลภูมิลำเนาย่อมเปลี่ยนไปได้ด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่ พร้อมด้วยเจตนาปรากฏชัดเจนแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนา

เรื่อง ความสามารถของบุคคล


ความสามารถของบุคคลหมายถึงการใช้สิทธิ์และหน้าที่ของบุคคลที่มีอยู่ได้มากน้อยเพียงใดปกติทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันตามกฎหมายแต่มีความสามารถใช้สิทธิ์แตกต่างกัน

ความสามารถของบุคคลมี 2 ความหมายคือ

1 ความสามารถในการมีสิทธิ์ต่างๆเช่นสิทธิ์ในทรัพย์สินสิทธิ์ในการดำเนินคดีเป็นต้น

2 ความสามารถในการใช้สิทธิต่างๆเช่น สามารถในการทำนิติกรรมการสมรสการรับบุตรบุญธรรมเป็นต้น

บุคคลที่ถูกจํากัดความสามารถได้แก่ ผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ

ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะต่อเมื่อ

1 อายุ 20 ปีบริบูรณ์

2 สมรสแล้วถูกต้องตามกฎหมาย

ชายหญิงจะสมรสได้ต่อเมื่ออายุครบ 17 ปีหรือ

เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสในกรณีอายุไม่ครบ 17 ปี

นิสิตค้นคว้าเพิ่มเติม

ความสามารถของผู้เยาว์

ผู้เยาว์ทํานิติกรรม

คนไร้ความสามารถ

คนเสมือนไร้ความสามารถ

การสิ้นสภาพบุคคล

การเป็นคนสาบสูญ

ผลของการเป็นคนสาบสูญ

การถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญ

ผลของการถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญ

ยกตัวอย่าง

เรื่องผลของการถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญ

แดงได้รับมรดกจากการเป็นคนสาบสูญของดำเป็นเงิน 1 แสนบาท แดงได้ใช้ไปโดยสุจริตและไม่รู้ว่าดำยังมีชีวิตอยู่ ต่อมาศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการเป็นคนสาบสูญของดำ ขนาดนั้นเงินมรดกเหลือเพียง 200 บาท แดงจะต้องคืนเงิน 200 บาทให้แก่ดำ



กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 เรื่องคดีอาญาระงับ

มาตรา 39  สิทธินําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้

1 โดยความตายของผู้กระทำผิด

2 ในคดีความผิดต่อส่วนตัวเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย

3 เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 37

4 เมอมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง


5 เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำความผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น

6 เมื่อคดีขาดอายุความ

7 เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ

คำถาม  คดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้หรือไม่

คำตอบมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิ์ของผู้เสียหายเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้วสิทธิที่ผู้เสียหายเองก็ดีหรือพนักงานอัยการก็ดีที่จะนำความผิดอันยอมความได้มาฟ้องผู้กระทำความผิดย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (2)  ซึ่งการขอถอนคำร้องทุกข์ ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมย่อมถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือต่อพนักงานอัยการ หรือต่อศาลก็ได้ แม้ดคดีจะอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้วให้ถือว่าคดีอาญาเป็นอันระงับ

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายอาญา

 คำถาม  นายแดงขึงลวดไว้ตามคันนาแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้ในเวลากลางคืนเพื่อ  ป้องกันหนูนาเข้ามากัดกินต้นข้าว  ปรากฏว่า  ชาย 2 คนไปจับปูนาไปขายในช่วงกลางคืนเป็นอาชีพเสริมเดินไปถูกเส้นลวดถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตาย นายแดงมีความผิดฐานใด

คำตอบ มีคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไว้ดังนี้

จำเลยขึงเส้นลวดรอบที่ตกกล้า..ปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันไม่ให้หนูเข้าไปกินข้าวกล้ามีคนไปหากบเหยียบเส้นลวดถูกกระแสไฟฟ้าตาย..จำเลยเล็งเห็นว่าจะมีคนมาถูกเส้นลวดได้รับอันตรายแก่กายได้เป็นการมีเจตนาทำร้ายผู้อื่นเป็นความผิดตามมาตรา 290

ดังนั้น  นายแดงจึงมีความผิดตามมาตรา 290

ในกรณีกลับกันหากชาย 2 คนนั้นเป็นคนร้ายจะเข้ามาลักทรัพย์ในที่นาของนายแดงนายแดงจะอ้างป้องกันได้หรือไม่

ตอบ  มีคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไว้ดังนี้

  แม้ขณะเกิดเหตุผู้ตายจะเข้าไปในบริเวณบ่อปลากัดของจำเลยเพื่อจับปลากัดซึ่งถ้าจำเลยพบเห็นเข้าจำเลยย่อมมีสิทธิ์ทำร้ายผู้ตายที่พอสมควรแก่เหตุเพื่อป้องกันทรัพย์สินของจำเลยได้แต่กระแสไฟฟ้าที่จำเลยปล่อยผ่านเส้นลวดที่ล้อมรอบบ่อปลากัดย่อมเป็นอันตรายร้ายแรงโดยสภาพซึ่งสามารถทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ ส่วนทรัพย์สินของจำเลยเป็นเพียงปลากัดมูลค่าไม่มากการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าเส้นลวดกับการป้องกันทรัพย์สินของจำเลยย่อมไม่เป็นสัดส่วนกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตนที่เกินสมควรแก่เหตุตาม ปอ. มาตรา 69.  จำเลยจึงมีความผิดฐานไม่ได้มีเจตนาฆ่าแต่ทำร้ายผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายตามป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 69

ดังนั้น  แม้จะเป็นคนร้ายเข้ามาในบริเวณพื้นที่เพื่อเจตนาลักทรัพย์..แต่การปล่อยกระแสไฟฟ้าบนรั้วเพื่อป้องกันการลักทรัพย์นั้นก็เป็นการทำเกินสมควรแก่เหตุ  ไม่ได้มีเจตนาฆ่าแต่มีเจตนาทำร้ายตามมาตรา 290 ประกอบมาตรา 69







กฎหมายลักษณะพยาน

 การใช้สายลับล่อซื้อ เมทแอมเฟตามีน(ยาบ้า)เป็นเพียงการกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรในการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยตามอำนาจใน ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (10)

ชอบที่เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมจำเลยพร้อมด้วยพยานหลักฐานอันเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความผิดของจำเลยไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ

ป.วิอาญามาตรา 226 บัญญัติว่า พยานวัตถุพยานเอกสารหรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ  มีคำมั่นสัญญาขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น

ดังนั้น  การใช้..สายลับ...ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยผู้กระทำความผิด  จึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

กฎหมายเบื้องต้นทั่วไป

 แนวคำบรรยายกฎหมายเบื้องต้นทั่วไปดังนี้

บทที่ 1 หลักการเบื้องต้น

บทที่ 2 กระบวนการยุติธรรม

บทที่ 3 กฎหมายว่าด้วยบุคคล

บทที่ 4 กฎหมายว่าด้วยทรัพย์

บทที่ 5 กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม

บทที่ 6 กฎหมายว่าด้วยสัญญา

บทที่ 7 กฎหมายลักษณะหนี้

บทที่ 8 กฎหมายว่าด้วยครอบครัว

บทที่ 9 กฎหมายว่าด้วยมรดก

บทที่ 10 กฎหมายว่าด้วยละเมิด

บทที่ 11 กฎหมายอาญาที่ควรทราบ

บทที่ 12 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ควรทราบ

บทที่ 13 กฎหมายลักษณะพยานที่ควรทราบ

บทที่ 14 กฎหมายปกครองที่ควรทราบ

บทที่ 15 กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ควรทราบ


วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายอาญา

 ความผิดฐานเป็นอั้งยี่มาตรา 209 วรรคหนึ่ง

องค์ประกอบภายนอก  1 ผู้กระทำ  ผู้กระทำต้องเป็นมนุษย์

2 การกระทำ

คือ  การเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลดังนั้นการมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้วคณะบุคคลดังกล่าวต้องแสดงออกซึ่งเจตนาเข้าร่วมด้วยความมุ่งหมายอันเดียวกันและจะต้องปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

ปกปิดวิธีดำเนินการหมายถึง ปกปิดไม่ให้ทราบว่ามีวิธีการดำเนินการอย่างไร

แนวคำพิพากษาที่ถือว่าเป็นกรณีของการปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายเช่น  คอยช่วยเหลือสมาชิกของกลุ่มในการหาพยานเท็จและมีเครื่องหมายของสมาคมที่รู้กันเฉพาะในหมู่สมาชิก

ใช้นิ้วแสดงเป็นเครื่องหมายลับ

การอันมิชอบด้วยกฎหมายนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นความผิดอาญาอาจเป็นเพียงการละเมิดในทางแพ่งหรือการผิดสัญญาก็เห็นว่าเข้าองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว

ความผิดฐานเป็นอั้งยี่และฐานเป็นซ่องโจรย่อมเป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่มีการสมคบวางแผนเพื่อการกระทำการอันเป็นความผิดแม้ยังไม่ได้มีการกระทำตามที่ได้สมคบกันก็ตาม





กม.วิธีพิจารฯความอาญา

 ผู้เสียหายมาตรา 2 (4)

ผู้เสียหายหมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4 5 และ 6

ผู้เสียหายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

1 บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งโดยตรง

2 บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนตามปวิอาญามาตรา 4 5 และ 6

หัวใจสำคัญของคำว่าผู้เสียหายนอกจากจะมีการกระทำความผิดอาญาและบุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดไปแล้วบุคคลนั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย

คือ 1 ต้องไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น

2 ต้องไม่ยินยอมให้มีการกระทำความผิด

3 ต้องไม่เป็นตัวการผู้ใช้ผู้สนับสนุนในการกระทำความผิด

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายปกครอง

 คำสั่งทางปกครองเป็นการใช้อำนาจรัฐ

ตามคำนิยามของคำว่าคำสั่งทางปกครองนั้น จะต้องเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย

เพราะโดยหลักการแล้ว คำสั่งทางปกครองเป็นการใช้อำนาจฝ่ายเดียวบังคับแก่เอกชน

โดยที่เอกชนมิได้ยินยอมด้วยกรณีใดหากไม่ได้เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายก็จะเป็นเรื่องอื่น

เช่นสัญญาอันเป็นการตกลงกับเอกชน  เป็นต้น

สำหรับอำนาจตามกฎหมายนั้นหมายถึง  อำนาจทางปกครองโดยจะต้องพิจารณาประกอบกับคำนิยามของคำว่าเจ้าหน้าที่ด้วย  ถ้าเป็นอำนาจตามกฎหมายอื่นก็ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง  


กม.ลักษณะพยาน

 น้ำหนักพยานของพยานหรือความน่าเชื่อถือของพยานย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของพยาน

1 พยานคู่  พยานเดี่ยว  ,(ประจักษ์พยาน ) นับว่าเป็นพยานสำคัญ  ถ้ามีประจักษ์พยานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเรียกว่าพยานคู่  ถ้ามีประจักษ์พยานเพียงคนเดียวเรียกว่า  พยานเดี่ยว 

พยานคู่ถ้าเบิกความตรงกันอย่างสมเหตุสมผลย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพราะโดยหลักทั่วไปคนที่เห็นเหตุการณ์เดียวกันในเวลาและสถานที่เดียวกันย่อมเบิกความตรงกันเพราะเหตุผลที่ว่าคนโกหก 2 คนน่าจะโกหกไม่ตรงกันหากพยานคู่เบิกความไม่ตรงความจริงอาจถูกฝ่ายตรงข้ามถามค้านให้แตกกันได้ง่าย

พยานเดี่ยว ไม่อาจถูกถามค้านให้แตกกับพยานอื่นได้นอกจากจะถามให้ตอบแบบขัดต่อเหตุผลเท่านั้นส่วนมากจะอ้างเป็นพยานเบี้ยบ้ายรายทาง คือรู้เห็นต่อกันเป็นช่วงๆและสาเหตุแห่งการรู้เห็นมักเป็นเรื่องโดยบังเอิญพยานประเภทนี้จึงไม่ค่อยมีน้ำหนัก










กฎหมายอาญา

 คำถาม  ภยันตรายอันเกิดจากการทำร้ายยังไม่สิ้นสุด

สิทธิที่จะป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายยังคงมีอยู่หรือไม่

คำตอบ  ฎีกาที่ 8345/2544

ก่อนเกิดเหตุขณะอยู่ในงานเลี้ยงที่บ้าน  ป.ผู้ตายกับจำเลยมีเหตุทะเลาะวิวาทจะทำร้ายกันเรื่องเล่นการพนันไฮโล แต่มีคนห้ามไว้และให้จำเลยกลับบ้าน จำเลยจึงขับรถจักรยานยนต์ออกจากบ้าน ป.เพื่อกลับบ้านต่อมาผู้ตายได้ออกตามไป ซึ่งแสดงว่า ผู้ตายตามไปหาเรื่องจำเลยจนเกิดเหตุเป็นคดีนี้

การที่ผู้ตายตามไปทันจำเลยระหว่างทางพร้อมกับพูดทำนองว่าตายไปข้างหนึ่งและเข้าไปชกต่อยแล้วชักมีดออกมาจากข้างหลังจะแทงทำร้ายจำเลยก่อน เช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิ์ป้องกันตนเองได้ ถึงแม้จำเลยจะแย่งมีดจากผู้ตายได้แล้วก็มิใช่ว่าภยันตรายที่จะเกิดแก่จำเลยจากผู้ตายใต้ผ่านพ้นหรือสิ้นสุดไปแล้ว เพราะผู้ตายมีรูปร่างสูงใหญ่และกำยำกว่าจำเลยซึ่งขาข้างซ้ายพิการใส่ขาเทียมโอกาสที่ผู้ตายจะแย่งมีดคืนจากจำเลยก็ยังมีอยู่ซึ่งหากผู้ตายแย่งมีดคืนจากจำเลยมาได้ก็น่าเชื่อได้ว่าผู้ตายจะต้องแทงทำร้ายจำเลยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้มิฉะนั้นผู้ตายคงไม่ตามไปหาเรื่องจำเลยอีก  ส่วนเหตุการณ์ในขณะที่แทงนั้นนับได้ว่าเป็นช่วงฉุกละหุกประกอบกับขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนจำเลยไม่น่าจะมีโอกาสเลือกแทงผู้ตายตรงบริเวณอวัยวะที่สำคัญได้ถนัดชัดเจนดังนี้แม้จำเลยจะแทงผู้ตายถูกที่บริเวณราวนมด้านซ้ายทะลุถึงหัวใจอันเป็นอวัยวะที่สำคัญเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมาก็เป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันในสถานการณ์เช่นนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68