วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายเบื้องต้นทั่วไป

 เรื่องกฎหมายว่าด้วยนิติกรรม

ความผูกพันของบุคคล

กฎหมายแบ่งความผูกพันของบุคคลออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1นิติกรรม  ได้แก่ การกระทำใดๆของบุคคลโดยตั้งใจจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง

อันเป็นผลก่อให้เกิดความผูกพันกันตามกฎหมาย เช่น ทำสัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าห้องพัก ชำระเงินกู้ ทำพินัยกรรม เป็นต้น

2 นิติเหตุ ได้แก่เหตุการณ์ธรรมชาติ หรือการกระทำของบุคคลซึ่งก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้

2.1 เหตุการณ์ธรรมชาติก่อให้เกิดผลทางกฎหมายเช่น การเกิด การบรรลุนิติภาวะ เป็นต้น

2.2 การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายเช่น การครอบครองปรปักษ์ การจัดการงานนอกสั่งเป็นต้น 

ความหมายของนิติกรรม มาตรา 149 ถึง 153 นิติกรรมหมายความว่า การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ์ มาตรา 149

องค์ประกอบของนิติกรรม

1 กระทำโดยการแสดงเจตนา

2 การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ

3 วิธีการแสดงเจตนาชอบด้วยกฎหมาย

4 ผู้แสดงเจตนามุ่งที่จะก่อให้เกิดความผูกพันกันตามกฎหมาย 

5 มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือเป็นการก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับสิทธิ 

ตัวอย่าง

ดำจดทะเบียนสิทธิเก็บกินบนที่ดินของตนให้แก่แดง เป็นการก่อให้เกิดสิทธิแก่แดง 

ดำกู้เงินแดงต่อมาตกลงกันให้เขาชำระหนี้แทนดำด้วยข้าวเปลือก เช่นนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสิทธิเรียกร้องจากเงินเป็นข้าวเปลือก

ดำทำสัญญาขายที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่ขาว  เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากดำไปยังขาว

ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ถือว่าทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เป็นการสงวนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้  

เจ้าหนี้ปลดหนี้ให้ลูกหนี้ทำให้สิทธิเรียกร้องระงับลง


ประเภทของนิติกรรม

1 นิติกรรมฝ่ายเดียว คือการกระทำที่สมบูรณ์เป็นนิติกรรมได้โดยอาศัยการแสดงเจตนาจากบุคคลเพียงฝ่ายเดียวเช่น สัญญาค้ำประกัน การทําพินัยกรรม การตั้งมูลนิธิ การให้สัตยาบัน การบอกล้างโมฆียะกรรม เป็นต้น

2 นิติกรรมสองฝ่าย คือการกระทำที่สมบูรณ์เป็นนิติกรรมเมื่อมีการแสดงเจตนาจากบุคคลทั้งสองฝ่ายนั่นคือมีทั้งคำเสนอและคำสนองเช่น สัญญาจ้างแรงงาน  สัญญาซื้อขาย สัญญาให้เช่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นต้น

ความสมบูรณ์ของนิติกรรม

นิติกรรมจะสมบูรณ์และใช้บังคับได้หรือไม่นอกจากจะพิจารณาองค์ประกอบของนิติกรรมดังกล่าวแล้วยังต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของความสมบูรณ์ของนิติกรรมด้วยดังนี้

1 ความสามารถของผู้ทำนิติกรรม

2 วัตถุประสงค์ของนิติกรรม 

3 แบบของนิติกรรม 

4 การแสดงเจตนาทำนิติกรรม

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

กฎหมายยอมให้บุคคลทำนิติกรรมอย่างกว้างขวางเว้นแต่กรณีต่อไปนี้จะเป็นโมฆะ

1 วัตถุประสงค์ของนิติกรรมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ถ้าเป็นข้อห้ามตามกฎหมายอาญาคู่กรณีจะทำสัญญาฝ่าฝืนไม่ได้เลย มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะเช่น ทำสัญญาจ้างฆ่าคนทำสัญญาซื้อขายยาเสพติดเป็นต้น

ถ้าเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คู่สัญญาอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้ถ้าไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  

ตัวอย่าง

กู้ยืมเงินระหว่างบุคคลคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีสัญญาเฉพาะส่วนดอกเบี้ยเป็นโมฆะ

สัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า ถ้าผิดนัดชำระคราวเดียวให้ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาได้เช่นนี้ เป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนสัญญาบังคับได้ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น