วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายอาญา

 เรื่องการใช้กฎหมายอาญา

มาตรา 2

บุคคลจะต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้วให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้นถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง

จากบทบัญญัติมาตรา 2 สรุปหลักกฎหมายเกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาได้ 3 ประการดังนี้

1 ต้องมีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไป

2 กฎหมายอาญาต้องบัญญัติไว้แล้วในขณะที่กระทำความผิดหรือกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่ผู้กระทำผิด

 3 กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด

ตัวอย่าง 

ให้อำนาจศาลสั่งโฆษณาคำพิพากษาเท่านั้นมิได้มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งโฆษณาคำขออภัยด้วยการที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยต่อโจทก์ด้วยจึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 นอกเหนือจากโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องห้ามตามป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่สั่งให้จำเลยที่ 1 โฆษณาคำขออภัยต่อโจทก์จึงไม่ชอบ

มาตรา 217 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นเป็นความผิดไม่มีข้อความว่าหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยก็เป็นความผิดแล้วจึงต้องตีความคำว่าทรัพย์ของผู้อื่นโดยเคร่งครัดเพราะเป็นการตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญามิอาจตีความขยายออกไปให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหรือผู้ต้องหาได้

กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดและกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดไม่แตกต่างกัน 

ก็จะต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดจะปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำผิดไม่ได้ 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น