วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายลักษณะพยาน

 เรื่องการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นสอบสวน

ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา มาตรา 131

การรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในชั้นสอบสวนมาตรา 131/1

ในความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปีอยู่ในบังคับตามมาตรา 131/1 วรรคหนึ่งแต่ถ้าเป็นความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปีต้องดำเนินการตามมาตรา 131/1 วรรค 2

ตัวอย่าง

การที่พนักงานสอบสวนพบจำเลยนอนหมดสติอยู่บนเตียงผู้ป่วยและได้กลิ่นสุราแต่ไม่สามารถตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ได้จึงเป็นกรณีที่พันตำรวจโท ส.สงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราหรือไม่ พันตำรวจโทจึงมีอำนาจที่จะทำการตรวจพิสูจน์บุคคลโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตามปวิอาญามาตรา 131/1 วรรคหนึ่ง 

การที่พันตำรวจโทศ ส. มีหนังสือขอให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเลยเก็บตัวอย่างเลือดของจำเลยเพื่อตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ว่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่จึงเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความผิดที่จำเลยถูกกล่าวหาตามปวิอาญามาตรา 131 การสอบสวนของพันตำรวจโท ส.พนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ เอกสารใดๆโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ ตามปวิอาญามาตรา 131/1 ซึ่งจำเลยมิได้นำสืบว่าวิธีการที่พนักงานสอบสวนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจหา DNA ที่ขวดน้ำส้มของกลาง โดยการใช้ไม้พันสำลีเช็ดขวดน้ำส้มของกลางส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจนั้นไม่ใช่วิธีทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ 

ผลการตรวจของผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

หัวหน้าพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐาน มาตรา 132

1 ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอมหรือตรวจตัวผู้ต้องหาหรือตรวจสิ่งของหรือที่ทางท่านสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ให้รวมทั้งทำภาพถ่ายแผนที่หรือภาพวาดจำลองหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือหรอลายเท้า กลับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่าจะทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น 

ในการตรวจผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาตามวรรคหนึ่ง หากผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็นหญิง ให้จัดให้เจ้าพนักงานซึ่งเป็นหญิงหรือหญิงอื่นเป็นผู้ตรวจ ทั้งนี้ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาจะขอให้นำบุคคลใดมาอยู่ร่วมในการตรวจนั้นด้วยก็ได้

การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานบุคคล มาตรา 133

พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดีให้มาตามเวลาและสถานที่ในหมายแล้วให้ถามปากคำบุคคลนั้นไว้ มาตรา 133 วรรคหนึ่ง

การถามปากคำนั้นพนักงานสอบสวนจะให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบานหรือปฏิญาณ

ตัวเสียก่อนก็ได้และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยพยานบุคคลมาตรา 133 วรรค 2

ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจ อยู่ใช้กลอุบายอื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ มาตรา 133 วรรค 3

ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ตั้งถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงเป็นผู้สอบสวน เว้นแต่ผู้เสียหายนั้นยินยอมหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น และให้บันทึกความยินยอมหรือเหตุจำเป็นนั้นไว้ ทั้งนี้ผู้เสียหายจากขอให้บุคคลใดอยู่ร่วมในการถามปากคำนั้นด้วยก็ได้ มาตรา 133 วรรค 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น