เรื่อง ผู้เสียหายโดยนิตินัย (ผู้เสียหายตามกฎหมาย )
ผู้เสียหายโดยนิตินัยหมายถึง ผู้ที่ไม่มีส่วนในการกระทำผิดหรือไม่เป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนหรือรู้เห็นในการกระทำผิดนั้นด้วยหรือสมัครใจให้เกิดความผิดนั้นหรือมีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ตัวอย่าง
1.ต่างฝ่ายต่างสมัครใจทะเลาะวิวาทกันแล้วเข้าทำร้ายร่างกายกันไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
2. หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกนั้นถือว่าหญิงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและ แม้หญิงจะถึงแก่ความตาย บิดาของหญิงนั้นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องผู้ที่ทำให้หญิงนั้นแท้งลูก
3. ต่างประมาทไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
ผู้ตายและจำเลยต่างขับรถด้วยความประมาทและต่างขับรถเข้าไปในช่องทางเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่งฟังได้ว่าขับรถโดยประมาททั้งสองฝ่ายเมื่อผู้ตายมีส่วนกระทำความผิดด้วยผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
4. การที่ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตามพรบห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
5. ต่างคนต่างด่าว่าอีกฝ่ายหนึ่งในการทะเลาะกันไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
6. โจทก์จำเลยทะเลาะกันแล้วต่างคนต่างกันจำเลยด่าก่อนโจทก์จึงด่าตอบโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายฟ้องจำเลยว่าดูหมิ่นซึ่งหน้าไม่ได้
ข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ที่ผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าฉ้อโกงโดยใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าจะขายธนบัตรปลอมให้ โจทย์หลงเชื่อจึงจ่ายเงินให้จำเลยไปความจริงจำเลยไม่มีธนบัตรปลอมเลย ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ที่ผิดกฎหมาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงได้
ผลของการไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
1. กรณีความผิดยอมความได้ผู้เสียหายยอมไม่อาจใช้สิทธิ์ใดๆตามกฎหมายได้เลยเช่น การร้องทุกข์ การฟ้องคดี การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วม การอุทธรณ์ฎีกา และมีผลทำให้บุคคลตามป.วิ.อาญามาตรา 5 ไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายด้วย
2. ความผิดต่อแผ่นดิน ผู้เสียหายไม่มีสิทธิ์ต่างๆดังกล่าวเช่นเดียวกับความผิดอันยอมความได้ แต่ผู้เสียหายอาจกล่าวโทษให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วส่งให้พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น