วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายเบื้องต้นทั่วไป

 เรื่องกฎหมายว่าด้วยทรัพย์

ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน

ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ป.พ.พ. ม.137 คำว่ารูปร่าง หมายถึงสิ่งที่เรามองเห็นได้ด้วยตาจับตองและสัมผัสได้

ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ ป.พ.พ. ม.138 แม่กฎหมายจะบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น นักกฎหมายส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีความเห็นว่าวัตถุที่มีรูปร่างทุกชนิดจะเป็นทรัพย์ไปทั้งหมด เช่น  ดวงดาว  ก้อนเมฆ น้ำทะเล เป็นต้น 

ประเภทของทรัพย์ มาตรา 139 ถึง 148

1 อสังหาริมทรัพย์มาตรา 139

อสังหาริมทรัพย์หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์สินอันติดอยู่ในที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์สินติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วยมาตรา 139

ที่ดินหมายถึง อาณาเขตบริเวณพื้นผิวที่สามารถวัดได้เป็นความกว้างความยาวที่แน่นอนไม่ได้หมายถึงเนื้อดินที่ขุดขึ้นมา

ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหมายถึง ทรัพย์ที่ติดตรึงอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรไม่ว่าจะติดตรึงโดยธรรมชาติหรือมีบุคคลนำมาติดตรึงเช่น ต้นไม้ยืนต้น บ้านเรือน สะพาน อนุสาวรีย์ เป็นต้น 

ทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองโดยธรรมชาติหรือมนุษย์ทำขึ้นและมองเห็นได้ง่ายวาเป็นอันเดียวกับที่ดินได้แก่ กรวด ทราย หิน แร่ธาตุต่างๆ แม่น้ำ ลำคลองหนองบึงถนน แต่ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ต่างๆที่ตกทอดฝังอยู่ในดินเช่น เหรียญ สร้อยคอ แหวน พระพุทธรูป เป็นต้น

ทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับที่ดิน  หรือเกี่ยวกับทรัพย์อนติดอยู่กับที่ดินหรือเกี่ยวกับทรัพย์ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น ได้แก่ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง สิทธิอาศัย สิทธิขายฝากเป็นต้น

2 สังหาริมทรัพย์ มาตรา 140

สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และหมายความถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วยมาตรา 140

1 ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินใดที่ไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์แล้วให้ถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้แก่

สัตว์ที่สามารถขนเคลื่อนที่ได้เช่น  สัตว์ รถ ตู้ หนังสือ เป็นต้น

กำลังแรงแห่งธรรมชาติเช่น พลังน้ำตก พลังไอน้ำ  แสงแดด เป็นต้น

ไม้ล้มลุกและธรรมชาติ มันเก็บผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี เช่น พืชผักสวนครัว ข้าวต่างๆ ถั่วต่างๆ เป็นต้น 

2 สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นเช่น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์   สิทธิเช่ารถ  สิทธิของผู้รับจำนำและสิทธิในสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างเช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิตามสัญญากู้ เป็นต้น

ข้อสังเกต

1 สังหาริมทรัพย์บางประเภทได้แก่ เรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป  แพ สัตว์พาหนะ แม้ว่าการซื้อขายหรือการทำนิติกรรมบางอย่างเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม ทรัพย์เหล่านี้ก็ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์

2 อสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าคู่กรณีเจตนาจะให้ทรัพย์นั้นโอนไปในลักษณะที่พ้นจากสภาพเป็นทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ ก็ถือว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์เช่น

ตัวอย่าง เรือนโดยสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์ถ้าเจ้าของยกให้โดยให้รื้อถอนไปเรือนที่รื้อถอนแล้วจึงเป็นสังหาริมทรัพย์ 

การซื้อขายผลไม้ที่ติดอยู่กับต้น เจตนาของการซื้อขายอยู่ที่สภาพรถจากต้นแล้วเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์

ความแตกต่างระหว่างอสังหาริมทรัพย์กับสังหาริมทรัพย์

1.อสังหาริมทรัพย์มีเจ้าของกรรมสิทธิ์เสมอ

 2.ทรัพย์สิทธิบางชนิดมีได้เฉพาะในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น

3 อายุความได้ สิทธิ ครอบครองปรปักษ์ต่างกัน 

4.แบบนิติกรรมกฎหมายกำหนดไว้ต่างกัน

5.อสังหาริมทรัพย์มีแดนกรรมสิทธิ์ แต่สังหาริมทรัพย์ไม่มีแดนกรรมสิทธิ์

นิสิตค้นคว้าเพิ่มเติม 

 ทรัพย์แบ่งได้ ทรัพย์แบ่งไม่ได้ ทรัพย์นอกพาณิชย์ 

ส่วนควบ อุปกรณ์ และดอกผลของทรัพย์









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น