วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

กฎหมายเบื้องต้น

 เรื่องซื้อขาย

ซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

ตัวอย่าง

การเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปใช้ก่อสร้างคลองชลประทานเป็นการใช้อำนาจรัฐเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการสาธารณูปโภคและเป็นการใช้อำนาจรัฐบังคับเอาทรัพย์สินของเอกชนเพื่อประโยชน์ของรัฐ โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจว่าจะยินยอมหรือไม่ ทั้งไม่อาจกำหนดหรือต่อรองราคาที่คุณพอใจได้เพราะเป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายมหาชน เช่นนี้แม้การจดทะเบียนโอนที่ดินใช้คำว่าซื้อขาย ก็ไม่ใช่การซื้อขายที่เป็นนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 453 ซึ่งจะต้องเกิดจากการกระทำด้วยความสมัครใจและมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ตามมาตรา 149 จึงไม่อาจนำกฎหมายเรื่องการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมตามมาตรา 156 อันเป็นหลักของกฎหมายเอกชนมาใช้บังคับได้ 

ผู้ขายไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินในการซื้อขาย

ตัวอย่างเช่น

สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทระบุกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกแก่ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาเป็นงวดตามที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว จึงถือเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขซึ่งกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะทชำระราคาครบถ้วน ทรัพย์สินที่ซื้อขายโดยมีเงื่อนไขจะโอนกรรมสิทธิ์ในภายหน้ากันนั้น 

ผู้ขายอาจนำทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกขายล่วงหน้าได้ และเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อปฏิบัติการไปตามเงื่อนไขแล้ว ผู้ขายจึงไม่จำต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอยู่ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย 

ดังนั้นการที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยให้โอนกรรมสิทธิ์กันในภายในหน้า

ขณะทำสัญญา โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่สมบูรณ์ สัญญาก็มีผลใช้บังคับได้

การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระราคาให้แก่โจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น